healthy@nasameng

วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวาน

ขั้นเตรียม
ก่อนเข้ากลุ่ม      -  สัมภาษณ์เชิงลึกตามแบบฟอร์ม   เพื่อศึกษาข้อมูล  ระดับการพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในด้านการควบคุมอาหาร,  การประเมินและแก้ไขอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ,  การใช้ยา,  การออกกำลังกาย  (ภาวนากีรติยุตวงศ์  2537 : 136 - 138)
-         เตรียม Lab  ต่างๆ ก่อนเข้ากลุ่ม
·       FBS  และทบทวนผล FBS ย้อนหลัง 2 ปี พร้อม Plot  graph
·       HbA1C
·       Lipid profile

·    BUN, Creatinine

-         สมุดบันทึกประจำตัว
-         แฟ้มข้อมูล,เอกสาร/แผ่นพับ  ได้แก่
·       ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน
·       อาหารแลกเปลี่ยน
·       การออกกำลังกายดุลยภาพบำบัด
·       การดูแลสุขภาพเท้า
·       เอกสารอื่นตามสภาพปัญหาผู้ป่วย  เช่น  ความรู้เรื่องโรคความดันในเลือดสูง,     ไขมันในเลือดสูง,  ไตวายเรื้อรัง, ฯลฯ
·       วิเคราะห์ข้อมูล ก่อนดำเนินการกลุ่ม เพื่อจัดโปรแกรมตามสภาพปัญหาของกลุ่ม
( ตามเกณฑ์ประเมินของ อ.ภาวนา กีรติยุติวงศ์ )
·    นัดครั้งต่อไป 1  เดือน

ขั้นดำเนินการ 

กิจกรรมกลุ่ม ครั้งที่ 1      ใช้เวลา  1 – 11/2    ชั่วโมง

·    สร้างสัมพันธภาพ   

·    กำหนดกติกากลุ่ม   ทำความตกลง  วัน,  เวลา,  สถานที่,  ระยะเวลาและระเบียบการอยู่ร่วมกันในกลุ่ม

·   ปรับทัศนคติ ฝึกใจ  ใช้เทป    พักใจกับเพลง    ของ  .เกษมสุข  ภมรสถิตย์
·  เล่าประสบการณ์การปฏิบัติตนที่ผ่านมาของแต่ละคน
· ให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรคเบาหวาน โดยเติมส่วนขาด ความรู้บางส่วนขณะเล่าประสบการณ์
·   ทบทวนตนเอง  ทำสัญญาใจกับกลุ่ม    ตนเองต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม     อย่างไรบ้าง    เพื่อให้ตนเองมีสุขภาพที่ดีขึ้น
·   ออกกำลังกายท่าบริหารปรับสมดุลย์ เน้นการฝึกหายใจให้ถูกวิธี
·   แจกเอกสารแผ่นพับเรื่อง   ออกกำลังกายท่าบริหารปรับสมดุล,  ความรู้เรื่องโรค    เบาหวาน
·   ให้การบ้าน     กลับไปฝึกออกกำลังกายท่าบริหารปรับสมดุล,    บันทึกอาหารประจำวันย้อนหลัง  3  วันก่อนวันทำกิจกรรมกลุ่มครั้งต่อไปตามแบบฟอร์มที่แจกให้  และนำมาในวันทำกิจกรรมกลุ่มครั้งต่อไป 
·   นัดหมายวัน/เวลาในการทำกิจกรรมกลุ่มครั้งต่อไป  พร้อมกำหนดเนื้อหาที่กลุ่มต้องการเรียนรู้ 
·   การเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่  คำนวณความต้องการพลังงานของผู้ป่วยที่เข้ากลุ่ม  และบันทึกสัดส่วนอาหารแต่ละหมวดลงตารางของแต่ละคน
·       สำหรับเจ้าหน้าที่ให้วิเคราะห์จากกลุ่มว่ารายไหนต้องติดตามเยี่ยมบ้านรายครอบครัวก่อนเข้ากลุ่มครั้งต่อไป
·       นัดครั้งต่อไป 1 เดือน

กิจกรรมกลุ่ม ครั้งที่ 2           ใช้เวลา  1 – 11/2    ชั่วโมง
·    ทบทวนความรู้ที่ได้จากครั้งที่แล้ว  ทบทวนสัญญาใจ  และประเมินพฤติกรรมที่ปรับเปลี่ยน
·    ประเมินความรู้เบื้องต้น  เรื่องอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน  และพฤติกรรมการรับประทานอาหารตามที่บันทึกมาให้ พร้อมสุ่มเจาะเลือดหลังอาหาร 2 ชม. เพื่อเป็นกรณีศึกษาเรื่องอาหารครั้งที่ผ่านมา
·    ให้ความรู้เรื่องอาหารเฉพาะโรค (เบาหวาน  ความดัน  ไขมัน),   อาหารแลกเปลี่ยนพร้อมทั้งให้ดู Model ประกอบ,  การประเมินสัดส่วนอาหาร,   การเลือกซื้ออาหาร,   การเตรียมอาหาร,  ข้อมูลโภชนาการ,  ให้ดูตัวอย่างอาหาร 
·   ให้การบ้าน   แจกสัดส่วนอาหารที่คำนวณไว้แต่ละคนให้กลับไปปฏิบัติตามและ   ติดตามผลในครั้งต่อไปโดยนัดเจาะเลือดหลังอาหาร 2  ชั่วโมงแล้วทบทวนอาหารมื้อที่ผ่านมาว่ากินอะไรบ้าง  มีแป้งและน้ำตาลเกินหรือไม่
·    นัดครั้งต่อไป 1 เดือน

กิจกรรมกลุ่ม ครั้งที่ 3     ใช้เวลา  1 – 11/2    ชั่วโมง
·   ทบทวนความรู้ที่ได้รับจากครั้งที่แล้ว และประเมินพฤติกรรมที่ปรับเปลี่ยน โดยทบทวนเรื่องอาหารแลกเปลี่ยน ประเมินระดับน้ำตาลหลังอาหาร 2 ชม. เพื่อประเมินความสมดุลระหว่างอาหารและการใช้พลังงานในมื้อที่ผ่านมา
·   ทบทวนการออกกำลังกายท่าบริหารปรับสมดุล
·   ตรวจเท้าด้วย Monofilament  เพื่อประเมินภาวะเสี่ยงของการเกิดแผลที่เท้า
·   ประเมินพฤติกรรมการดูแลเท้า
·    ความรู้เรื่องการดูแลเท้าและการบริหารเท้า
·   การบ้าน  ดูแลเท้า,  บริหารเท้า,  รับประทานอาหารตามสัดส่วน
·  นัดหมายครั้งต่อไป 1 เดือน

กิจกรรมกลุ่ม ครั้งที่ 4     ใช้เวลา  1 – 11/2    ชั่วโมง
·       ประเมินความรู้เรื่องการจัดการความเครียด เรียนรู้การจัดการกับความเครียด การผ่อนคลายความเครียดด้วยตนเอง ฟังเทปผ่อนคลายความเครียดชุดพักใจกับเพลง
·   ประเมินเรื่องการออกกำลังกาย,  ความเครียด ตามแบบฟอร์ม
·   เรียนรู้เรื่องการออกกำลังกายที่ถูกต้อง
·   ทำสัญญาใจเรื่องการออกกำลังกายของแต่ละบุคคล
·   การบ้าน  ทบทวนสัญญาใจครั้งต่างๆ  และปฏิบัติตาม
·  นัดหมายครั้งต่อไป 1 เดือน

กิจกรรมกลุ่ม ครั้งที่ 5     ใช้เวลา  1 – 11/2    ชั่วโมง
·   ประเมินความรู้เรื่อง,  การใช้ยา  จากแบบฟอร์มการสัมภาษณ์เชิงลึก,  การสอบถาม/ค้นหาจากกลุ่ม
·    เรียนรู้เรื่องการใช้ยาในผู้ป่วยเหวาน
·    เรียนรู้เรื่องสมุนไพร  ตามแนวทางธรรมชาติบำบัด   (ใช้เอกสารอ้างอิง   อาจารย์สุทธิวัสส์  คำภา)  หรือของการแพทย์แผนไทยตามความชอบของกลุ่ม
·   ทบทวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของแต่ละคน จากการเข้ากลุ่ม ครั้งที่ 1-5
·   การบ้าน  ทบทวนสัญญาใจครั้งต่างๆ  และปฏิบัติตาม
·   นัดหมายครั้งต่อไป 1 เดือน

กิจกรรมกลุ่ม ครั้งที่ 6     ใช้เวลา  1 – 11/2    ชั่วโมง
·   บอกเล่าประสบการณ์การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของแต่ละบุคคล โดยให้แต่ละคนเล่าถึงสิ่งที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม สัญญาใจที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ปรับเปลี่ยนความประทับใจที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม สิ่งที่คิดว่าจะเปลี่ยนแปลงในระยะต่อไป
·   ประเมินผลกลุ่มโดย    ประเมินความพึงพอใจ  ประเมินคุณภาพชีวิต (QOL)
·   ประเมินระดับการพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานซ้ำ     ในด้านการควบคุมอาหาร,  การประเมินและแก้ไขอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ, การใช้ยา,  การออกกำลังกาย
·   เจาะเลือดประเมิน HbA1C ซ้ำ   (ห่างจากครั้งที่ 1 ประมาณ  4-5  เดือน)          
·  สนับสนุนส่งเสริมให้สมาชิกกลุ่มได้เป็นแกนนำในชมรมสร้างสุขภาพหรือเป็นแกนนำในการทำกลุ่มครั้งต่อไปเพื่อวางแผนให้พัฒนากลุ่มเป็นกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน
( Self Help Group ) จนเกิดเป็นชมรมเบาหวาน

การติดตามประเมินผล

·   ติดตามจากการพบแพทย์แต่ละครั้ง
·   ติดตามจากงานเยี่ยมบ้าน ทุก 1,  3,  6  เดือน และ  1 ปี
·   คนที่ยังตรวจภาวะแทรกซ้อนไม่ครบติดตามตรวจให้ครบ

สิ่งที่จะดำเนินการต่อไป

·   ติดตาม HbA1C ทุก 1 ปี ในรายที่ออกจากกลุ่มแล้วยังสูงอยู่
·   ติดตามเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนทุกปี ( ตามแนวทางปฏิบัติ )
·   จัดกิจกรรมค่ายเบาหวาน
·    พัฒนาแกนนำ  ขยายเครือข่ายชมรมสร้างสุขภาพ

สิ่งที่ควรจะดำเนินการของเจ้าหน้าที่

·  คลังข้อมูลระดับอำเภอ
·  แฟ้มการเรียนรู้ของแต่ละสถานีอนามัย  เพื่อให้เจ้าหน้าที่อื่นๆได้ดำเนินการทดแทนได้
·  มุมการเรียนรู้ของผู้ป่วย      -  ในชุมชน
                                       -  ในสถานบริการ (รพ.,  สอ.)   
·  มีการสรุปการเรียนรู้ทุกครั้ง / ทุกกลุ่ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น