healthy@nasameng

วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554

แนวทางการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบ

แนวทางการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบ
ลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด
                        .................................................................................                                                         
                            
                          1. ทำไม ต้องมีหมู่บ้านต้นแบบลดโรคฯ
                ปัจจุบันคนไทยมีแนวโน้มการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม   ปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อม และวิถีการดำเนินชีวิต    ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง   โรคหัวใจและหลอดเลือด  เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ บางคนเป็นหลายโรคพร้อมกัน  ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ โดยประชาชนจะต้องใส่ใจและดูแลตนเองด้วยการมีพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง ควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่ม ที่มีแอลกอฮอล์และควบคุมความเครียด
                ทั้งนี้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ โดย กองสุขศึกษาได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดูแลสุขภาพ   เพื่อลดอัตราเพิ่มของการเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าว ด้วยการจัดทำโครงการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบลดโรคฯ ครอบคลุมทั่วประเทศ รวม 152  หมู่บ้าน   โดยการส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านและประชาชน มีการออกกำลังกาย ตามวิถีชีวิต    กินผักและผลไม้สดที่ปลูกเองหรือผักพื้นบ้านที่สามารถหารับประทานได้ง่าย      ตลอดจนมีการจัดปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ   อันจะส่งผลให้ประชาชนมีการสร้างสุขภาพที่ยั่งยืนและมีสุขภาพดีต่อไป          

                                 2. หมู่บ้านต้นแบบลดโรคฯ คืออะไร  
คือ   หมู่บ้านที่ประชาชนมีการออกกำลังกายตามวิถีชีวิตอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละอย่างน้อย 3  วัน วันละอย่างน้อย 30 นาที  ร่วมกับการ กินผัก  ผลไม้สด วันละอย่างน้อย 5 ขีด ขึ้นไป (ครึ่งกิโลกรัม) และ
ลดอาหารไขมัน      ภายในหมู่บ้าน มีถนนหรือสถานสำหรับการออกกำลังกาย     ชุมชน/ครัวเรือน มีการปลูกผักปลอดสารพิษกินเอง   และมีแหล่งน้ำที่สามารถใช้ในการเพาะปลูก   ตลอดจนมีสถานที่ในการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง  โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด


                                  3. หมู่บ้านแบบไหน? คือหมู่บ้านต้นแบบลดโรค
            *  เป็นหมู่บ้านที่:
              1. ประชาชนออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละอย่างน้อย 3  วัน
      วันละอย่างน้อย 30 นาที
                 2. ประชาชนกินผัก  ผลไม้สด วันละอย่างน้อย 5 ขีด ขึ้นไป (ครึ่งกิโลกรัม)
                    และลดอาหารไขมัน
            *  เป็นหมู่บ้านที่ :  
                 1.   มีถนนหรือสถานที่สำหรับการออกกำลังกาย                
                 2.   มีการจัดกิจกรรมการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในหมู่บ้าน  มีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการกินผัก ผลไม้สดและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
                 3.   มีแหล่งน้ำที่สามารถใช้ในการเพาะปลูก  เช่น สระ  คู   คลอง  หนอง  บึง
                 4.   ครัวเรือน/ชุมชนมีการปลูกผักปลอดสารพิษกินเอง
                 5.   มีแหล่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
*เป็นหมู่บ้านที่:
  ประชาชน   ผู้นำชุมชน กลุ่ม ชมรม หน่วยงานท้องถิ่น ต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อการลดโรค

4. ได้ประโยชน์อะไรจากการเป็นหมู่บ้านต้นแบบลดโรคฯ        
                1. ประชาชนลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง  โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด
  2.   สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของประชาชน
                3.  หมู่บ้านได้รับการประกาศยกย่องให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบลดโรคฯ
  4.   หมู่บ้านเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อการลดโรคของประชาชน                          
5.  พื้นที่เป้าหมาย
                   หมู่บ้านต้นแบบลดโรคฯ 152 หมู่บ้าน ใน 76  จังหวัด โดยคัดเลือกหมู่บ้านดังนี้
                         1.   เป็นหมู่บ้านในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว
                              จำนวน 1 หมู่บ้าน
                           2.   เป็นหมู่บ้านที่มีปัจจัยเอื้อ  คือ มีลานกีฬาหรือถนน สำหรับการออกกำลังกาย            มี พื้นที่และแหล่งน้ำเพื่อการปลูกผักปลอดสารพิษกินเอง  จำนวน 1 หมู่บ้าน

6. เส้นทางสู่หมู่บ้านต้นแบบลดโรคฯ
6.1  ทุกจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการและกรุงเทพมหานคร  
                                1.  กำหนดผู้รับผิดชอบ และคัดเลือกหมู่บ้านเข้าร่วมโครงการจังหวัดละ 2 หมู่บ้านตามเกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย ในข้อ 5
                                2.  จัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบลดโรค  ทั้งนี้โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของหน่วยงานและภาคีเครือข่ายสุขภาพทีเกี่ยวข้อง    อาทิ  เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังวัด/อำเภอ และสถานีอนามัยที่รับผิดชอบพื้นที่  ประชาสัมพันธ์จังหวัด  เกษตรอำเภอ  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น / เทศบาล  /อบจ/อบต  สถานศึกษา  อาสาสมัครสาธารณสุข   กลุ่ม/ชมรมผู้สูงอายุ  ชมรมออกกำลังกาย  ผู้นำชุมชน ฯลฯ ซึ่งอาจจะดำเนินงานในรูปของคณะทำงานหรือคณะกรรมการแล้วแต่ความเหมาะสม  ประกอบด้วยกิจรรมหลักดังนี้
                           2.1  สำรวจสถานการณ์ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการออกกำลังกายกินผัก ผลไม้สด และอาหารไขมันของประชาชน
                               2.2  กิจกรรมการเรียนรู้ด้านสุขภาพ  เช่น  จัดเวทีประชาคม   จัดประชุม/อบรมจัดนิทรรศการ   ตลาดนัดสุขภาพ  จัดค่ายสุขภาพ
 2.3  จัดให้มีสถานที่/แหล่ง การออกกำลังกาย ปลูกผักปลอดสารพิษ และ
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของหมู่บ้าน/ชุมชน
2.4                                      กิจกรรมกระตุ้นให้ประชาชนในหมู่บ้านมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
สัปดาห์ละอย่างน้อย 3  วัน  วันละอย่างน้อย 30 นาที  กินผัก  ผลไม้สด วันละอย่างน้อย 5 ขีด ขึ้นไป
 (ครึ่งกิโลกรัม) และลดอาหารไขมัน   อาทิเช่น
-  การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อชุมชน ได้แก่  หอกระจายข่าว
วิทยุชุมชน  อาสาสมัครสาธารณสุข  แกนนำชุมชน เยาวชน แผ่นปลิว  ผ้าป้าย
-  จัดกิจกรรมรณรงค์ในชุมชน 
 2.5. เฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนด้านการออกกำลังกาย 
กินผัก ผลไม้สด และอาหารไขมัน
2.6.  รายงานผลการดำเนินงานให้แก่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
                    3 . ดำเนินการตามแผนการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบลดโรคฯ 
                      4 .  ประสานการใช้ทรัพยากรและสิ่งสนับสนุนการดำเนินงาน พัฒนาหมู่บ้านต้นแบบลดโรคฯ  จากกองสุขศึกษา  กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ   และจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายต่าง ๆ  อาทิเช่น สำนักงานสาธารณสุขจังวัด/อำเภอ และสถานีอนามัยที่รับผิดชอบพื้นที่ประชาสัมพันธ์จังหวัด  เกษตรอำเภอ  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/ เทศบาล /อบจ /อบต   สถานศึกษา  อาสาสมัครสาธารณสุข  กลุ่ม/ชมรมผู้สูงอายุ  ชมรมออกกำลังกาย  ผู้นำชุมชน ฯลฯ
5.                      ประเมินผลการดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบลดโรคฯ เพื่อเตรียม
หมู่บ้านส่งเข้าประกวด                                     
6.                              ได้รับการประกาศให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบลดโรคฯ และเป็นแหล่งแลกเปลี่ยน
เรียนรู้  ศึกษาดูงาน  แก่หมู่บ้าน/ชุมชนอื่น               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น