healthy@nasameng

วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554

War Room ไข้เลือดออก และ อหิวาตกโรค

รายงานการประชุม War   Room   ไข้เลือดออก และ อหิวาตกโรค
คปสอ. ดอนตาล  ครั้งที่ 1 /  2554
วันที่   16   ธันวาคม    2553
   ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอดอนตาล

รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม                                                                                                 ลายมือชื่อ
1. นางอัญชลี      ธารพล                                                                                      อัญชลี      ธารพล
2. นายพรชัย      เหล่าสิงห์                                                                                   พรชัย      เหล่าสิงห์
3. นางบังอร       พิมพ์บุญมา                                                                                บังอร       พิมพ์บุญมา
4. นายธีระชัย    น้อยทรงค์                                                                                  ธีระชัย    น้อยทรงค์
5.  นายธีระศักดิ์    เพริศแก้ว                                                                                ธีระศักดิ์    เพริศแก้ว
6.  นายคณิตศักดิ์    รายณะสุข                                                                              คณิตศักดิ์    รายณะสุข
7.นายเจริญ       บุตรนาม                                                                                       เจริญ       บุตรนาม     
8. นายนิรมิต     คนขยัน                                                                                       นิรมิต     คนขยัน
9. นายมนตรี    สกุลเดช                                                                                       มนตรี    สกุลเดช
10. นายพงษ์ยุทธ    ซาเสน                                                                                    พงษ์ยุทธ    ซาเสน
11. นางอรุณรัตน์   เชื้อตาเคน                                                                             อรุณรัตน์   เชื้อตาเคน
12. นายแมน      เชี่ยวชาญ                                                                                   แมน      เชี่ยวชาญ
13. นายไพรัตน์    วัชรกุลชรไทย                                                                        ไพรัตน์    วัชรกุลชรไทย
14. นายเชิดชัย     อาจวิชัย                                                                                  เชิดชัย     อาจวิชัย
15. นางสมสวย   พลทรัพย์ศิริ                                                                            สมสวย   พลทรัพย์ศิริ
16. นางสุภัสสร   ลีสมิทธานนท์                                                                        สุภัสสร   ลีสมิทธานนท์
17. นายเอกชัย      งามแสง                                                                                เอกชัย      งามแสง
18. นางพันธ์ฉวี    สุขบัติ                                                                                   พันธ์ฉวี    สุขบัติ
19. นายธัชชัย      ใจคง                                                                                      ธัชชัย      ใจคง
20. นายเทอดศักดิ์    พวงธรรม                                                                           เทอดศักดิ์    พวงธรรม  
21. นางสุริตา       คณาดี                                                                                     สุริตา       คณาดี
22. นายเทอด      สอนสุข                                                                                   เทอด      สอนสุข
23. นายอัครา    คณาดี                                                                                        อัครา    คณาดี
24. นายประหยัด     โพธิ์ไทร                                                                           ประหยัด     โพธิ์ไทร
25. นายประคอง      สารีแผลง                                                                         ประคอง      สารีแผลง
26. นายชัชวาลย์        บุระวงค์                                                                         ชัชวาลย์        บุระวงค์
27. นายสุขสันต์      สลางสิงห์                                                                       สุขสันต์      สลางสิงห์
28. นายโชคทวี       วังคะฮาต                                                                         โชคทวี       วังคะฮาต

เริ่มประชุม   เวลา  09.05  น.
วาระที่  1   ประธานแจ้งให้ทราบ
                เนื่องจากมีการระบาดของโรคอหิวาตกโรค  และไข้เลือดออกในเขตอำเภอดอนตาล  จึงต้องมีการประชุม
War   Room   ในวันนี้
วาระที่  2  เรื่องรับรองรายงานการประชุม ครั้งที่แล้ว
                 ไม่มี
วาระที่ 3  เรื่องติดตามรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว
                ไม่มี
วาระที่  4  สถานการณ์โรคอหิวาตกโรค  อำเภอดอนตาล  ปี  2553     
                ปี   2553   จังหวัดมุกดาหาร มีผู้ป่วยอหิวาตกโรค  จำนวน 9   ราย   เป็นผู้ป่วยในเขตอำเภอดอนตาล  จำนวน  5    ราย   ผู้ป่วยรายที่ 1   พบที่บ้านหนองหล่ม  ตำบลโพธิ์ไทร  ป่วยเมื่อวันที่  3  กุมภาพันธ์   2553 ผู้ป่วยรายที่ 2   พบที่บ้านดอนตาล   ตำบลดอนตาล  ป่วยเมื่อวันที่  22  กุมภาพันธ์   2553   ผู้ป่วยรายที่ 3   พบที่บ้านโพธิ์ไทร     ตำบลโพธิ์ไทร  ป่วยเมื่อวันที่  20   เมษายน   2553  ผู้ป่วยรายที่ 4   พบที่บ้านโคกสว่าง   ตำบลเหล่าหมี   ป่วยเมื่อวันที่  30    พฤศจิกายน    2553  ผู้ป่วยรายที่ 5   พบที่บ้านตาลรุ่ง   ตำบลดอนตาล  ป่วยเมื่อวันที่  10    ธันวาคม    2553
                รายละเอียดของผู้ป่วยรายที่  4   เป็นเด็กชาย  อายุ  10   ปี  ที่อยู่  บ้านเลขที่  96  หมู่ที่  6   บ้านโคกสว่างตำบลเหล่าหมี  อำเภอดอนตาล  จังหวัดมุกดาหาร  เป็นนักเรียนชั้นประถมปีที่ 4  โรงเรียนบ้านโคกสว่าง  เริ่มป่วยวันที่  30    พฤศจิกายน    2553  เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน  โรงพยาบาลดอนตาล  ผลการตรวจ  RSC  พบเชื้อ
Inaba   อาหารที่สงสัย  คือ ผู้ป่วย ซื้อปลาหมึกย่างที่บริเวณ ตลาดนัดในหมู่บ้าน    มีผู้สัมผัสร่วมบ้าน  จำนวน  3   คน  ไม่มีผู้ป่วยรายใหม่ในหมู่บ้าน  และในโรงเรียน 
                การดำเนินงาน   เมื่อทีม SRRT   ได้รับรายงาน  ได้ลงพื้นที่  ทำการสอยสวนโรค  ทำลายเชื้อบริเวณบ้านผู้ป่วย  ให้สุขศึกษาแก่ญาติ  และครูในโรงเรียน   และประชาชนในหมู่บ้าน  เก็บ  RSC   ในผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านทั้ง 3  คน  และผู้ปรุงอาหารในโรงเรียน  ทำการเฝ้าระวังการเกิดผู้ป่วยรายใหม่ในหมู่บ้านและโรงเรียน
                รายละเอียดของผู้ป่วยรายที่  5  เป็นชายไทย อายุ  55  ปี  บ้านเลขที่  171  หมู่ที่  7  ตำบลดอนตาล  อำเภอดอนตาล  จังหวัดมุกดาหาร  เริ่มป่วยวันที่  10   ธันวาคม    2553  เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน  โรงพยาบาลดอนตาล  ผลการตรวจ  RSC  พบเชื้อ   Ogawa  หลังจากได้รับรายงานผู้ป่วยได้รับการจำหน่าย  ออกจากโรงพยาบาลดอนตาล  และเดินทางไปพักรักษาตัวที่อำเภอเมือง  จังหวัดมุกดาหาร    จึงทำให้การสอบสวนโรคไม่ครอบคลุม
จึงได้มีการทำลายเชื้อบริเวณที่อยู่ของผู้ป่วย คือบริเวณปั๊มน้ำมันสหกรณ์ดอนตาล

                ปัญหาในการดำเนินงาน
1.             มีความผิดพลาดในเรื่องเวชระเบียน  ที่อยู่ไม่ถูกต้อง
2.              การวินิจฉัยล่าช้าเนื่องจากต้องรอผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ทำให้การลงควบคุมโรคล่าช้า
3.             อุปกรณ์ในการเก็บสิ่งส่งตรวจไม่เพียงพอ
4.             ปัญหาการจัดการรถเร่  
5.              การให้สุขศึกษา  ยังไม่ครอบคลุม 
วาระที่  5   แนวทางการดำเนินงานควบคุมโรคอหิวาตกโรคอำเภอดอนตาล 
จากปัญหาในการดำเนินงาน  มีข้อเสนอแนะจาก สสจ.มุกดาหาร  และสคร. 7  อุบลราชธานี  และผู้เข้าร่วมประชุม  ให้มีแนวทางการแก้ไขดังนี้
1.             ความผิดพลาดในเรื่องเวชระเบียน   แนวทางการแก้ไข  ควรมีการตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วยทุกครั้งที่มารับบริการ  รพ.ดอนตาล  จะนำไปเข้าที่ประชุมในการดำเนินงานคุณภาพโรงพยาบาล  ทำเป็น
       work  in  ต่อไป
2.             การวินิจฉัยล่าช้า  ทำให้การลงควบคุมโรคล่าช้า  เนื่องจากต้องรอผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
      ควรมีการแก้ไข  โดยใช้  Clinical   ของผู้ป่วยเป็นเกณฑ์ในการควบคุมโรค  ไม่ต้องรอผลการตรวจ    ทางห้องปฏิบัติการ  ถ้าผู้ป่วยมีอาการเข้าข่าย  ให้แพทย์  R / O   Sevear   Diarrhea   และให้ผู้ป่วยใน แจ้งมาที่ทีม   SRRT   และทำการออกสอบสวน   ควบคุมโรคทันที   ซึ่งผู้ประสานทางโรงพยาบาลดอนตาล  จะนำไปทบทวนกับทีมสหวิชาชีพ  และหาแนวทางที่ชัดเจน   ต่อไป
3. ควรมีการ  STOCK   น้ำยาเลี้ยงเชื้อไว้ที่รพ. อย่างน้อย  100   ชุด    และที่ รพ.สต.แห่งละ  5   ชุด  เพื่อให้สามารถเก็บสิ่งส่งตรวจได้ทันท่วงที  เมื่อมีผู้ป่วยที่สงสัย  มารับบริการที่สถานบริการ  โดย
 รพ.ดอนตาล  เบิกได้ที่โรงพยาบาลมุกดาหาร  และ  รพ.สต.เบิกจาก รพ.ดอนตาล
4.  ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ  ทาง สสจ.มุกดาหาร ได้ประสานทางโรงพยาบาลมุกดาหารให้มีการ    แจ้งผลการตรวจแบบเร่งด่วน ซึ่งปกติ  RSC  จะใช้เวลาตรวจ  2  วัน   ถ้าขึ้น  Plate  สีเหลือง  Lab  รพ.มุกดาหาร  จะแจ้งมาที่  สสจ.  ทันที  ว่าพบเชื้ออหิวาแล้ว  แต่รอการแยกเชื้อ   
5.  ปัญหาการจัดการรถเร่   ควรมีการสำรวจจำนวนรถเร่  และให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ
6.  ควรให้ความรู้แก่ประชาชนให้มากขึ้น   โดยเฉพาะการรับประทานอาหารทะเล  ต้องทำให้สุก และสะอาดจริง ๆ  เพราะมีรายงานว่าเมื่อนำอาหารทะเลที่ปรุงไม่สุก ไปตรวจจะพบเชื้อมากกว่าร้อยละ  80    
7. ควรมีการซักซ้อม แนวทางการปฏิบัติ ระหว่างทีมสหวิชาชีพ ไม่ว่าจะเป็นห้อง Lab   IPD  และทีม  SRRT   อย่างสม่ำเสมอ
ข้อเสนอแนะจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร
1. การเกิดผู้ป่วยอหิวาตกโรคในพื้นที่  เป็นเรื่องที่ต้องรีบจัดการให้ได้   เพราะอาจมีผู้ที่เป็น Carier   อยู่ในชุมชน  จำนวนหนึ่ง  ซึ่งจะเป็นตัวไปเชื้อให้คนในชุมชน  โดยเฉพาะในผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ  และได้รับเชื้ออย่างเพียงพอ  ก็จะแสดงอาการของโรค  อาจจะมีการระบาดขึ้นมาอีก
2. การเกิดอหิวาตกโรค  จะมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคอุจจาระร่วง  และอาหารเป็นพิษ  จากการเฝ้าระวงทางระบาดวิทยา  อำเภอดอนตาล  มีการรายงานผู้ป่วยทั้ง 2   โรค  เกินเกณฑ์มาตรฐาน  โดยเฉพาะในเขตตำบลดอนตาล  นาสะเม็ง   น้อยที่สุดที่ตำบลป่าไร่  ซึ่งผู้ป่วยบางส่วนอาจไปรับบริการที่ รพ.เลิงนกทา  ทำให้ผู้ป่วยดังกล่าวไม่เข้าระบบรายงาน 
2.  ในกรณีที่ผู้ป่วย  ได้ย้ายไปในเขตของอำเภออื่น  เช่น  ในผู้ป่วยรายที่  5  ซึ่งหลังจากได้รับการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลดอนตาลแล้ว  ได้ไปพักอยู่กับลูกสาว  ในเขตอำเภอเมือง  จังหวัดมุกดาหาร ในกรณีนี้   ทีม  SRRT   อำเภอดอนตาล   ต้องมีการประสานงาน และส่งต่อข้อมูล กับทีม SRRT  อำเภอเมือง  เพื่อให้ทีมอำเภอเมือง  ได้ดำเนินการต่อ  เพราะผู้ป่วยรายนี้  อาจจะไปแพร่เชื้อ ในเขตอำเภอเมืองอีก
สรุปมาตรการเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการในการควบคุมโรค
                 Active   Finding  
1.             สำรวจกลุ่มเสี่ยงดังต่อไปนี้
1.1  พ่อค้า   แม่ค้ารถเร่
1.2  พ่อค้า  แม่ค้ารายย่อยในหมู่บ้าน  ที่ประกอบการเกี่ยวกับกับอาหาร
1.3  พ่อค้า  แม่ค้าตลาดนัดในหมู่บ้าน  ที่ประกอบการเกี่ยวกับกับอาหาร
1.4  คนปรุงอาหารในโรงเรียนและศูนย์เด็ก
                                          2.    สุ่มตรวจ  RSC  ในกลุ่มเสี่ยง
                                           3.  ให้ความรู้ผู้ปรุง   ผู้บริโภค   ในกลุ่มประชาชนทั่วไป  และนักเรียน
                                           4.   สุ่มตรวจภาชนะ   และอาหารโดยใช้น้ำยา  SI 2  
                       Passive  Finding  
1.             ส่งรายงาน  และเฝ้าระวังโรค สุ่มตรวจ  RSC
2.             รพ.สต.เก็บ RSC ในผู้ป่วย  Wattery   Diarrhea  ส่งห้อง  Lab  รพ.ดอนตาล
3.             รพ.ดอนตาล  รวบรวม  RSC   นำส่ง รพ.มุกดาหาร
4.             งานระบาดวิทยา รพ.ดอนตาล  รวบรวมข้อมูลผู้ป่วย  และการตรวจ  RSC
                    แนวทางการทำ  RSC
1.             ให้ผู้ป่วยนอนตะแคงซ้าย
2.             ก่อนแหย่ไม้พันสำลีเข้าไปในทวารหนัก  ให้เอาพันสำลีจุ่ม Media ก่อน เพื่อไม่ลื่น ผู้ถูกตรวจไม่เจ็บ 
3.             แหย่ไม้พันสำลี  เข้าไปในทวารหนัก ลึก  2 -  3  cms   หมุนรอบ ๆ  ทวารหนัก  ก่อนนำมาจุ่มที่  Media
4.             ปิดฝาให้สนิท   และรีบนำส่ง รพ.ดอนตาล  RSC  รุ่นใหม่  ไม่ต้องหักไม้พันสำลี
เพราะทำมาพอดีกับ  Tube 
5.             ทำในสถานที่  ที่มิดชิด  บางรายแนะนำให้ผู้ป่วยทำเอง
      การกำหนดระยะเวลาในการดำเนินงาน
                1.  การสำรวจกลุ่มเสี่ยง  ให้สำรวจในช่วง  17  -   23   ธันวาคม    2553  
                   แบบฟอร์มการสำรวจจะส่งให้ทาง  Locker  
             2.  สุ่มตรวจ  RSC  ในช่วง  27   ธันวาคม  2553  -  4   มกราคม  2554
      แนวทางการประสานข้อมูล
                1.  SRRT    สสอ.ดอนตาล  และ รพ.ดอนตาล  ต้องมีการประสานงานกันอย่างสม่ำเสมอ และมีการวิเคราะห์ข้อมูล  ในเรื่อง จำนวนผู้ป่วย  จำนวนที่ทำ  RSC 
                2.  แต่ละ   รพ.สต.  และ รพ.ดอนตาล  ให้ส่งรายงานการเฝ้าระวังแบบเข้มข้น  เป็นระยะเวลา
 6  เดือน   ตั้งแต่เดือนธันวาคม  2553  ถึงเดือนเมษายน  2554   โดยให้ส่งรายงานเป็นรายเดือน
  แบบรายงานจะส่งให้ทาง  Locker 
วาระที่  6   สถานการณ์โรคไข้เลือดออก   อำเภอดอนตาล   ปี  2553     
                ณ วันที่  16   ธันวาคม   2553   อำเภอดอนตาล  มีจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น จำนวน  200  ราย  คิดเป็นอัตราป่วย  471.58   ต่อแสนประชากร  พบผู้ป่วยมากที่สุดที่ ตำบลบ้านบาก จำนวนผู้ป่วย 56  ราย   อัตราป่วย   1032.26  ต่อแสนประชากร      รองลงมาคือตำบลดอนตาล   จำนวนผู้ป่วย  64  ราย   อัตราป่วย   994.39   ต่อแสนประชากร   ตำบลโพธิ์ไทร  จำนวนผู้ป่วย  22  ราย   อัตราป่วย   448.52   ต่อแสนประชากร และตำบลเหล่าหมี    จำนวนผู้ป่วย  29  ราย   อัตราป่วย   436.48   ต่อแสนประชากร   พบผู้ป่วยน้อยที่สุดที่ตำบลบ้านแก้ง  จำนวนผู้ป่วย  5  ราย   อัตราป่วย   66.77   ต่อแสนประชากร  
                กลุ่มอายุ  ที่พบมากที่สุด  คือ  10  - 14  ปี  รองลงมา คือ กลุ่มอายุ 5 -  9  ปี  พบผู้ป่วยมากที่สุดในเดือนมิถุนายน  จำนวน  53  ราย  เดือนกรกฎาคม  50  ราย   ล่าสุด เดือนธันวาคม     16  ธันวาคม  2553   พบผู้ป่วย  4   ราย   2  รายสุดท้าย พบในวันที่  9  ธันวาคม  2553  เข้ารับการรักษาที่ รพ.ดอนตาล
วันที่  12   ธันวาคม  2553   
                พื้นที่  ที่กำลังเป็นปัญหาในขณะนี้ คือ  บ้านนายอ  ตำบลเหล่าหมี  มีผู้ป่วยจำนวน  16   ราย  ซึ่งมีการระบาด  3   เหตุการณ์   เหตุการณ์ที่ 1  มีผู้ป่วย จำนวน  1   ราย   ไม่มี  Second Generation     เหตุการณ์ที่ 2   มีผู้ป่วย จำนวน  5     ราย   และมี  Second Generation     เหตุการณ์ที่ 3   มีผู้ป่วย จำนวน  10     ราย   และมี  Second Generation    พบผู้ป่วยตั้งแต่วันที่  11  ตุลาคม  เป็นต้นมา จนถึง วันที่  12   ธันวาคม  2553   ซึ่งบ่งบอกว่าการระบาดของโรคไข้เลือดออกไม่ได้ผล
วาระที่ 7    แนวทางการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออก   บ้านเหล่าหมี
ต้องมีการรณรงค์ ครั้งยิ่งใหญ่  โดยมีเจ้าหน้าที่จากทุก รพ.สต.  , รพ.ดอนตาล และสาธารณสุขอำเภอดอนตาลมาช่วยในการรณรงค์  รวมทั้งเจ้าหน้าที่ จาก  ศคม.7.2  มุกดาหาร  และ สสจ.มุกดาหาร  จำนวนทั้งหมดประมาณ  50 คน กำหนดให้มีการรณรงค์ในวันพรุ่งนี้  คือ  วันศุกร์ที่  17  ธันวาคม  2553     วมทั้งเจ้าหน้าที่ จาก  ศคม.ใ/ดอนตาล  และ
                           

ข้อตกลงในการรณรงค์
1.             ต้องมีตัวแทนของแต่ละ รพ.สต.มาร่วมทุกแห่ง  และนำไฟฉายมาด้วย
2.             เวลานัดหมาย  09.00  น.  ให้ทุกคนมาตรงเวลาด้วย
ขั้นเตรียมการก่อนรณรงค์
 1. เย็นวันนี้ ( 16 ธ.ค. 53) ให้พื้นที่ประชาคมหมู่บ้าน  ทางอำเภอจะลงไปร่วมด้วย
1.             ชี้แจง  อสม.ในการสำรวจและกำจัดลูกน้ำ  รวมทั้งค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชน
2.              จัดเตรียมแบบสำรวจ  และแผนที่หมู่บ้าน  เพื่อกำกับการรณรงค์
3.             จัดเตรียมทรายอะเบท  น้ำยาเคมี  และเครื่องพ่นหมอกควัน
4.             จัดเตรียมอาหาร และน้ำ  สำหรับทีมรณรงค์
              กิจกรรมในการรณรงค์   
1.             การสำรวจและทำลายลูกน้ำยุงลาย 
2.             การค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชน  ซึ่งทำควบคู่ไปกับการสำรวจลูกน้ำ
3.             การสรุปผลการสำรวจ
4.             แนะนำทีมพ่นหมอกควัน  ซึ่งจะทำการพ่นหลังจากทำ HI  ในหมู่บ้านให้เป็น 0
5.             ประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าว ในระหว่างการรณรงค์ เพื่อให้ประชาชนมีความตื่นตัว
สรุปกิจกรรมหลักที่จะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนในบ้านนายอ
 1. การปราบลูกน้ำ  ให้ค่า  HI  เป็น  0  หลังจากการรณรงค์  4   สัปดาห์   โดยให้ส่งรายงานที่  สสอ.  ทุกวันจันทร์  และ สสอ. ส่งรายงาน ที่ สสจ. ต่อไป  โดยมีกำหนดการส่งรายงาน HI ดังนี้
                -  สัปดาห์ที่   1    วันจันทร์  ที่   27    ธันวาคม   2553 
                -  สัปดาห์ที่   2    วันจันทร์  ที่   3      มกราคม   2554
             -   สัปดาห์ที่   3    วันจันทร์  ที่   10     มกราคม   2554
                -  สัปดาห์ที่   4    วันจันทร์  ที่   17     มกราคม   2554
2. การค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชน
3. การพ่นเคมี  ทำลายลูกน้ำยุงลาย
4. การเขียนรายงานการสอบสวนโรค
5. ทีม  SRRT  ต้องลงสุ่มค่า HI  อย่างสม่ำเสมอ
นโยบายการควบคุมโรค  สสจ.มุกดาหาร ปี 2554
ต้องมีมาตรการหลัก  3   ด้าน   ดังนี้   
1.  3   ห้องสะอาด
2.  หน้าบ้านน่ามอง
3.  ครัวเรือนปลอดลูกน้ำ

แนวทางการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกจังหวัดมุกดาหาร ปี 2554
1.             การใช้มาตรการ  5  ป.
2.             การสุ่มไขว้
3.             มีกิจกรรมเฝ้าระวัง HI  ในชุมชน
4.             มีมาตรการทางสังคม   ในเชิงบวก
วาระที่ 8    การบันทึกข้อมูลการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน   ความดันโลหิตสูง
จังหวัดได้พิจารณา  ให้มีการลงข้อมูลใหม่ เมื่อวันที่  15  ธันวาคม  2553  ในที่ประชุมอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็ง   และ  SRRT  ตำบล  ว่าให้ทุกแห่งลงข้อมูลแบบ  On  Line  เหมือนเดิม   เพื่อให้คนทำงานมีขวัญและกำลังใจ  และมั่นใจว่าได้รับค่าตอบแทนแน่นอน
วาระที่ 9  เรื่องเพื่อพิจารณา
9.1  กำหนดการประชุมทีม SRRT  ตำบล ในวันที่   24   ธันวาคม   2553  ที่ห้องประชุมโรงพยาบาลดอนตาล (เลื่อนเป็นเดือนมกราคม  2554  จะแจ้ง วัน เวลา ที่แน่นอน อีกครั้งหนึ่ง )กลุ่มเป้าหมาย  ตำบลละ 5  คน  ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข  1  คน  เจ้าหน้าที่จาก อบต. หรือเทศบาล  1  คน   อสม.  3  คน   ส่งรายชื่อใน Locker   ภายในวันที่  20    ธันวาคม    2553    
9.2  ควรมีการกำหนดงบกลางจาก CUP  ในเรื่องการควบคุมโรคเมื่อมีการระบาด  การสุ่ม HI  ประจำเดือน   การประชุม  War  Room    และการซ่อมเครื่องพ่นหมอกควัน
9.3  ควรมีการประชุม War  Room    ในระดับตำบล  เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุมอย่างครบถ้วน   โดยเฉพาะในส่วนของ  อปท.ซึ่งให้ความร่วมมือน้อย
ที่ประชุมรับทราบและถือปฏิบัติ
ปิดประชุมเวลา  12.35  น.
                                                                     ........บังอร.......    ผู้บันทึกรายงานการประชุม
                                                                 (นางบังอร  พิมพ์บุญมา)
                                                                 พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
                                                                     ......โชคทวี.........   ผู้ตรวจบันทึกรายงานการประชุม
                                                                   (นายโชคทวี  วังคะฮาต)
                                                                 สาธารณสุขอำเภอดอนตาล  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น