healthy@nasameng

วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554

สรุปผลการดำเนินงาน TO BE NUMBER ONE

ชมรม To Be Number One

วิสัยทัศน์ของชุมชนนาสะเม็ง
                 มุ่งสร้างสรรค์ให้เยาวชนนาสะเม็งรักความสะอาด  ยิ้ม  ไหว้ทักทาย   เพียบพร้อมด้านคุณธรรม  นำประชาธิปไตย  ห่างไกลยาเสพติด  ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

พันธกิจของฝ่ายกิจกรรม
                 1. ส่งเสริมและพัฒนาบุคลิกภาพและความประพฤติของนักเรียน เยาวชนให้อยู่ในระเบียบวินัยของโรงเรียนและกฎของชุมชน
                 2. ปลูกฝังด้านคุณธรรม  จริยธรรม  และประชาธิปไตยให้นักเรียน เยาวชนนำ ไปใช้ในชีวิตประจำวันและในสังคมอย่างมีความสุข
                 3. ส่งเสริมความเป็นผู้นำ  ความสามารถตามศักยภาพของแต่ละบุคคล

วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554

Context Based Learning

โครงการสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งทางสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้วยกระบวนการ
การจัดการเรียนโดยใช้บริบทเป็นฐาน : Context Based Learning 
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาสะเม็ง อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร

หลักการและเหตุผล
                   ระบบบริการปฐมภูมิ คือ หัวใจของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ถ้าอ่อนแอ จะทำให้ทั้งระบบไร้ประสิทธิภาพ การจัดการระบบบริการปฐมภูมิให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ต้องอาศัยทั้งศาสตร์ด้านการแพทย์ และศาสตร์ทางด้านสังคมจิตวิทยา ที่เหมาะสมกับบริบท ซึ่งผู้นำการจัดการระบบบริการปฐมภูมิ คือ แกนหลักในการขับเคลื่อนระบบ เพื่อพัฒนาบุคลากรที่เป็นผู้นำการจัดการเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ โดยเน้นรูปแบบการเรียนรู้ที่ใช้ในหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายเป็นฐาน            ( Learning at the Workplace) เพื่อเสริมยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบสาธารณสุขในประเทศไทย
                   การพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการปฏิรูประบบสาธารณสุขหรือระบบสุขภาพตามนโยบายของรัฐบาล ภายใต้แนวคิด “ ชุมชนเป็นเจ้าของสุขภาวะชุมชน”  ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จะต้องปรับบทบาทของผู้ให้บริการแบบตั้งรับ หรือชี้นำสุขภาพของประชาชนมาเป็นผู้ให้ข้อมูลและทำหน้าที่เชื่อมประสานภาคส่วนต่าง ๆ ของชุมชนเข้ามาดำเนินงานร่วมกันผลักดันให้เกิดการสร้างสุขภาพให้มากขึ้น ลดภาวการณ์เจ็บป่วย ควบคุมสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้เกิดสมดุลแห่งสุขภาพชุมชน ประชาชน ชุมชน ภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและท้องถิ่น มีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งในการดำเนินการพัฒนา ขับเคลื่อนพลังชุมชนร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เกิดเป็นระบบสุขภาพสุขภาพชุมชนที่ครอบคลุมถึง ความกินดี พอดีอยู่ดี ความอยู่เย็นเป็นสุขและความมั่นคงในชีวิตได้อย่างยั่งยืนและถือเป็นการดำเนินงานโดยยึดหลักการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง และเพื่อให้การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนมีรูปธรรม และมีการพัฒนาด้านการจัดการสุขภาพรูปแบบใหม่ด้วยภูมิปัญญาและการรวมพลังชุมชนในท้องถิ่น เสริมสร้างศักยภาพในการตัดสินใจต่อการจัดการปัญหาที่กระทบต่อสุขภาพของตนเองได้มากขึ้น สนับสนุนการสร้างนวัตกรรมสุขภาพชุมชน โดยผ่านกลไกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพื่อสนับสนุนประชาชน ชุมชน คณะกรรมการ รพ.สต.และภาคีเครือข่าย ร่วมใช้พลังความคิดและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการส่งเสริมป้องกันและจัดการสุขภาพของประชาชน เอื้อให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสามารถพัฒนาด้านการบริการรักษาพยาบาลได้อย่างมีคุณภาพ ให้ระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิโดยรวมเกิดประสิทธิภาพ และพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสุขภาพแก่ภายในและภายนอกชุมชน 
                  การสร้างสุขภาพในชุมชนโดยใช้กระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจ (Empowerment) เป็นการพัฒนาศักยภาพของชุมชนสู่การพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพ โดยที่บุคลากรทางสุขภาพมีบทบาท สำคัญในการสนับสนุนและกระตุ้นให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้ มีความตระหนักต่อการแก้ไขปัญหาสุขภาพและมีความมั่นใจว่าจะสามารถดูแลสุขภาพประชาชนในชุมชนโดยชุมชน การสร้างสุขภาพในชุมชน จะนำมาซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมของประชาชน ลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ ลดปัญหาสุขภาพที่ป้องกันได้ ลดการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ และนำไปสู่สังคมสุขภาวะต่อไป

เป้าหมาย
                  ร่วมสร้างชุมชนสุขภาวะที่มีความเข้มแข็ง ประชาชนสามารถจัดการปัญหาและพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพ ประชาชนในชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และการพัฒนาภาวะผู้นำด้านส่งเสริมสุขภาพโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน  ส่งเสริมสนับสนุนภาคีเครือข่ายในท้องถิ่นเรียนรู้เรื่องสุขภาพร่วมกับชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชนและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
วัตถุประสงค์
                   1. เพื่อให้เจ้าหน้าที่และเครือข่ายสุขภาพมีศักยภาพในการจัดการเรียนรู้การดูแลสุขภาพด้วยตนเองของชุมชนเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
                   2. เพื่อให้ภาคีเครือข่าย มีศักยภาพในการสร้างและพัฒนานวัตกรรมสุขภาพของชุมชน
                   3. สรุปบทเรียนการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนในพื้นที่ รพ.สต.นาสะเม็ง
                   4. เพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจให้แกนนำชุมชนสามารถจัดกิจกรรมสร้างสุขภาพในชุมชน โดยชุมชน และเพื่อชุมชน

พื้นที่ดำเนินการ
                   1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาสะเม็ง
                   2. หมู่ที่ 1,2 บ้านนาสะเม็ง  ตำบลนาสะเม็ง  อำเภอดอนตาล

วิธีดำเนินการ
                   1. ทีม Context Based Learning : CBL  รพ.สต.ร่วมพัฒนาแนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชน
                   2. ดำเนินการทำงานในพื้นที่ตามบริบท รวมทั้งจัดกิจกรรมบริการตามหลักเวชศาสตร์ครอบครัว
                   3. ดำเนินงานเพื่อพัฒนาระบบบริการ ดังนี้
                       3.1  รพ.สต.มีการสำรวจความต้องการพัฒนาตนเองของเจ้าหน้าที่ 
                       3.2 การวางแผนฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาล โดยกำหนดจุดฝึก จำนวนเจ้าหน้าที่และระยะเวลาฝึก  โดยช่วงแรกจะเน้นเรื่องการรักษาพยาบาล 
                       3.3 การประชุมวิชาการกันเองโดย รพ.สต. และการให้ รพ.สต.ร่วมประชุมวิชาการกับโรงพยาบาล  
                       3.4. การให้คำปรึกษาโดยแพทย์และพยาบาลแก่เจ้าหน้าที่ รพ.สต. ผ่านระบบโทรศัพท์มือถือ  การเรียนรู้ แบบนี้มีข้อตกลงเบื้องต้น คืออ้างอิงทฤษฎีการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult learning) ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เรียนเพื่อทำงาน แรก ๆ โรงพยาบาลจะจัดให้ก่อน ถ้าผู้เรียนประเมินว่าไม่ดี ก็จะปรับให้
                   4. ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

งบประมาณ
                   สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร  ภายใต้โครงการสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งทางสุขภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  จำนวน 100,000.- บาท   ( หนึ่งแสนบาทถ้วน.-)

ตัวชี้วัดความสำเร็จ
                   1. มีนวัตกรรมสุขภาพชุมชนระดับชุมชนภายใต้การมีส่วนร่วมของประชาชน
                   2. มีกลไกการดำเนินงานพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนระหว่างหน่วยงาน ในทุกระดับ
                   3. มีต้นแบบการพัฒนาบุคลากร รพ.สต.โดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้


ผลที่คาดว่าจะได้รับ
                   1. เกิดชุมชนเข้มแข็งด้านการพัฒนาการมีส่วนร่วมในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในการจัดระบบสุขภาพชุมชนที่เป็นรูปธรรมและมีความยุ่งยืน
                   2. การบริการสุขภาพปฐมภูมิภายใต้การนำหลักเวชศาสตร์ครอบครัวมาใช้เป็นที่รู้จักและยอมรับจากประชาชน
                   3. มีต้นแบบการพัฒนาบุคลากร รพ.สต.โดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้
     
ผู้เสนอโครงการ

(  นางสมร  แคนติ )
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาสะเม็ง

แนวทางการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบ

แนวทางการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบ
ลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด
                        .................................................................................                                                         
                            
                          1. ทำไม ต้องมีหมู่บ้านต้นแบบลดโรคฯ
                ปัจจุบันคนไทยมีแนวโน้มการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม   ปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อม และวิถีการดำเนินชีวิต    ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง   โรคหัวใจและหลอดเลือด  เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ บางคนเป็นหลายโรคพร้อมกัน  ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ โดยประชาชนจะต้องใส่ใจและดูแลตนเองด้วยการมีพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง ควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่ม ที่มีแอลกอฮอล์และควบคุมความเครียด
                ทั้งนี้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ โดย กองสุขศึกษาได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดูแลสุขภาพ   เพื่อลดอัตราเพิ่มของการเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าว ด้วยการจัดทำโครงการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบลดโรคฯ ครอบคลุมทั่วประเทศ รวม 152  หมู่บ้าน   โดยการส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านและประชาชน มีการออกกำลังกาย ตามวิถีชีวิต    กินผักและผลไม้สดที่ปลูกเองหรือผักพื้นบ้านที่สามารถหารับประทานได้ง่าย      ตลอดจนมีการจัดปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ   อันจะส่งผลให้ประชาชนมีการสร้างสุขภาพที่ยั่งยืนและมีสุขภาพดีต่อไป          

                                 2. หมู่บ้านต้นแบบลดโรคฯ คืออะไร  
คือ   หมู่บ้านที่ประชาชนมีการออกกำลังกายตามวิถีชีวิตอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละอย่างน้อย 3  วัน วันละอย่างน้อย 30 นาที  ร่วมกับการ กินผัก  ผลไม้สด วันละอย่างน้อย 5 ขีด ขึ้นไป (ครึ่งกิโลกรัม) และ
ลดอาหารไขมัน      ภายในหมู่บ้าน มีถนนหรือสถานสำหรับการออกกำลังกาย     ชุมชน/ครัวเรือน มีการปลูกผักปลอดสารพิษกินเอง   และมีแหล่งน้ำที่สามารถใช้ในการเพาะปลูก   ตลอดจนมีสถานที่ในการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง  โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด


                                  3. หมู่บ้านแบบไหน? คือหมู่บ้านต้นแบบลดโรค
            *  เป็นหมู่บ้านที่:
              1. ประชาชนออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละอย่างน้อย 3  วัน
      วันละอย่างน้อย 30 นาที
                 2. ประชาชนกินผัก  ผลไม้สด วันละอย่างน้อย 5 ขีด ขึ้นไป (ครึ่งกิโลกรัม)
                    และลดอาหารไขมัน
            *  เป็นหมู่บ้านที่ :  
                 1.   มีถนนหรือสถานที่สำหรับการออกกำลังกาย                
                 2.   มีการจัดกิจกรรมการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในหมู่บ้าน  มีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการกินผัก ผลไม้สดและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
                 3.   มีแหล่งน้ำที่สามารถใช้ในการเพาะปลูก  เช่น สระ  คู   คลอง  หนอง  บึง
                 4.   ครัวเรือน/ชุมชนมีการปลูกผักปลอดสารพิษกินเอง
                 5.   มีแหล่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
*เป็นหมู่บ้านที่:
  ประชาชน   ผู้นำชุมชน กลุ่ม ชมรม หน่วยงานท้องถิ่น ต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อการลดโรค

4. ได้ประโยชน์อะไรจากการเป็นหมู่บ้านต้นแบบลดโรคฯ        
                1. ประชาชนลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง  โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด
  2.   สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของประชาชน
                3.  หมู่บ้านได้รับการประกาศยกย่องให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบลดโรคฯ
  4.   หมู่บ้านเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อการลดโรคของประชาชน                          
5.  พื้นที่เป้าหมาย
                   หมู่บ้านต้นแบบลดโรคฯ 152 หมู่บ้าน ใน 76  จังหวัด โดยคัดเลือกหมู่บ้านดังนี้
                         1.   เป็นหมู่บ้านในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว
                              จำนวน 1 หมู่บ้าน
                           2.   เป็นหมู่บ้านที่มีปัจจัยเอื้อ  คือ มีลานกีฬาหรือถนน สำหรับการออกกำลังกาย            มี พื้นที่และแหล่งน้ำเพื่อการปลูกผักปลอดสารพิษกินเอง  จำนวน 1 หมู่บ้าน

6. เส้นทางสู่หมู่บ้านต้นแบบลดโรคฯ
6.1  ทุกจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการและกรุงเทพมหานคร  
                                1.  กำหนดผู้รับผิดชอบ และคัดเลือกหมู่บ้านเข้าร่วมโครงการจังหวัดละ 2 หมู่บ้านตามเกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย ในข้อ 5
                                2.  จัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบลดโรค  ทั้งนี้โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของหน่วยงานและภาคีเครือข่ายสุขภาพทีเกี่ยวข้อง    อาทิ  เช่น สำนักงานสาธารณสุขจังวัด/อำเภอ และสถานีอนามัยที่รับผิดชอบพื้นที่  ประชาสัมพันธ์จังหวัด  เกษตรอำเภอ  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น / เทศบาล  /อบจ/อบต  สถานศึกษา  อาสาสมัครสาธารณสุข   กลุ่ม/ชมรมผู้สูงอายุ  ชมรมออกกำลังกาย  ผู้นำชุมชน ฯลฯ ซึ่งอาจจะดำเนินงานในรูปของคณะทำงานหรือคณะกรรมการแล้วแต่ความเหมาะสม  ประกอบด้วยกิจรรมหลักดังนี้
                           2.1  สำรวจสถานการณ์ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการออกกำลังกายกินผัก ผลไม้สด และอาหารไขมันของประชาชน
                               2.2  กิจกรรมการเรียนรู้ด้านสุขภาพ  เช่น  จัดเวทีประชาคม   จัดประชุม/อบรมจัดนิทรรศการ   ตลาดนัดสุขภาพ  จัดค่ายสุขภาพ
 2.3  จัดให้มีสถานที่/แหล่ง การออกกำลังกาย ปลูกผักปลอดสารพิษ และ
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของหมู่บ้าน/ชุมชน
2.4                                      กิจกรรมกระตุ้นให้ประชาชนในหมู่บ้านมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
สัปดาห์ละอย่างน้อย 3  วัน  วันละอย่างน้อย 30 นาที  กินผัก  ผลไม้สด วันละอย่างน้อย 5 ขีด ขึ้นไป
 (ครึ่งกิโลกรัม) และลดอาหารไขมัน   อาทิเช่น
-  การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อชุมชน ได้แก่  หอกระจายข่าว
วิทยุชุมชน  อาสาสมัครสาธารณสุข  แกนนำชุมชน เยาวชน แผ่นปลิว  ผ้าป้าย
-  จัดกิจกรรมรณรงค์ในชุมชน 
 2.5. เฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนด้านการออกกำลังกาย 
กินผัก ผลไม้สด และอาหารไขมัน
2.6.  รายงานผลการดำเนินงานให้แก่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
                    3 . ดำเนินการตามแผนการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบลดโรคฯ 
                      4 .  ประสานการใช้ทรัพยากรและสิ่งสนับสนุนการดำเนินงาน พัฒนาหมู่บ้านต้นแบบลดโรคฯ  จากกองสุขศึกษา  กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ   และจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายต่าง ๆ  อาทิเช่น สำนักงานสาธารณสุขจังวัด/อำเภอ และสถานีอนามัยที่รับผิดชอบพื้นที่ประชาสัมพันธ์จังหวัด  เกษตรอำเภอ  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/ เทศบาล /อบจ /อบต   สถานศึกษา  อาสาสมัครสาธารณสุข  กลุ่ม/ชมรมผู้สูงอายุ  ชมรมออกกำลังกาย  ผู้นำชุมชน ฯลฯ
5.                      ประเมินผลการดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบลดโรคฯ เพื่อเตรียม
หมู่บ้านส่งเข้าประกวด                                     
6.                              ได้รับการประกาศให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบลดโรคฯ และเป็นแหล่งแลกเปลี่ยน
เรียนรู้  ศึกษาดูงาน  แก่หมู่บ้าน/ชุมชนอื่น               

แนวทางการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระบบทางเดินอาหารและน้ำ

 
 

แนวทางการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระบบทางเดินอาหารและน้ำ

แบบบูรณาการ จังหวัดมุกดาหาร ปี ๒๕๕๔

การดำเนินงานการ


1.การจัดทีมปฏิบัติงาน   -  ทุกอำเภอมีการจัดตั้งทีมปฏิบัติงานในระดับอำเภอ   ทีม (SRRT)
    การดำเนินการ
1.1 จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคอหิวาตกโรคระดับจังหวัด  โดยให้มีการประสานงานระหว่างศูนย์วิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเทศบาลและ อบต.
1.2 จัดตั้งคณะทำงานป้องกันและควบคุมโรคอหิวาตกโรคระดับอำเภอ เพื่อทำหน้าที่เป็นทีมปฏิบัติงานเฝ้าระวังและควบคุมโรคเชิงรุก
1.3 ประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานระดับอำเภอ เพื่อรับทราบแนวทางและรูปแบบ
      การดำเนินงาน 1 ครั้ง ก่อนฤดูกาลระบาด ในช่วงเดือน มกราคม-เมษายน

2. วิเคราะห์ข้อมูลทางระบาดวิทยาเพื่อกำหนดพื้นที่ที่มีโอกาสการเกิดโรคสูง

เกณฑ์มาตรฐาน อำเภอวิเคราะห์และใช้ข้อมูลที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดมาตรการในการป้องกันโรค เช่น
- ร้อยละของผู้ป่วยที่เป็นประชาชนในพื้นที่
- ร้อยละของผู้ป่วยที่เป็นผู้เคลื่อนย้ายมาทำงาน
- สถานที่ซึ่งมักเป็นแหล่งโรคในพื้นที่นั้นๆ เช่น โรงฆ่าสัตว์ ตลาดสด
- ช่วงเวลาที่มักมีผู้ป่วยเกิดขึ้นมาก โดย เฉพาะช่วงเทศกาลต่างๆ โดยเฉพาะเทศกาลสงกรานต์
- อาหารที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค เช่น ลาบดิบ  อาหารทะเล  อาหารที่ปรุงจากกะทิ  อาหารสุกๆ ดิบๆ    อื่นๆ
- พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดโรค เช่น ซื้อ/ ปรุงอาหารทิ้งไว้นาน  การเก็บอาหารไว้  นาน นอกตู้เย็น
- เกณฑ์มาตรฐานจากการสำรวจสุขาภิบาลอาหารและสิ่งแวดล้อม
การดำเนินการ
วิเคราะห์หาพื้นที่ /บุคคล/ ปัจจัย ที่เอื้อต่อการระบาดของโรคอหิวาตกโรค
 โดยใช้ข้อมูลแหล่งต่างๆ  เช่น
n    ระบบ รง. ๕๐๖
n    รายงานการสอบสวนโรค
n    ข้อมูลการเฝ้าระวังคุณภาพอาหาร น้ำดื่ม
      ข้อมูลการเฝ้าระวังโรคอุจจาระร่วง เพราะเมื่อจะมีการระบาดของโรคอหิวาตกโรคเกิดขึ้น มักมีผู้ป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันเพิ่มขึ้นผิดปกติเพื่อกำหนด พื้นที่/บุคคล ที่เป็นเป้าหมาย และมาตรการป้องกันการระบาดของโรค

๓. เฝ้าระวังคุณภาพน้ำ และสุ่มตรวจหาเชื้อในอาหาร น้ำดื่ม น้ำใช้ ภาชนะและ
     มือผู้ประกอบอาหารจำหน่าย
เกณฑ์มาตรฐาน
-          น้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำดื่มเก็บกักในภาชนะ ตรวจไม่พบโคลิฟอร์มแบคทีเรีย
-          น้ำประปา ตรวจพบปริมาณคลอรีนตกค้างไม่น้อยกว่า ๐. ppm.
-    น้ำใช้ที่เป็นน้ำเก็บกักในภาชนะ ตรวจไม่พบโคลิฟอร์มแบคทีเรีย

วิธีการดำเนินงาน

-          ชุมชน เก็บตัวอย่างน้ำดื่ม น้ำใช้  ทุกครั้งที่สำรวจ  โดยใช้  110 /ชุดตรวจหาคลอรีน ในน้ำในช่วงเดือน มกราคม - มีนาคม  ในระบบประปา ทุกขนาด
-          ตลาดสด/แผงลอย/ร้านอาหาร สุ่มเก็บตัวอย่างอาหาร น้ำแข็ง น้ำดื่ม ภาชนะ และมือผู้ประกอบอาหารจำหน่าย ที่สงสัยว่าจะเป็นพาหะนำโรคได้  ทุกครั้งที่สำรวจโดยใช้  110 และ SI-2 ในช่วงเดือน
      มกราคม - พฤษภาคม

๔. สุ่มตรวจอุจจาระหาเชื้อในผู้ปรุงและจำหน่ายอาหาร  และผู้ที่สงสัย/อาหารที่เสี่ยง
     เพื่อค้นหา อาหาร/ผู้ติดเชื้อ อหิวาตกโรค

เกณฑ์มาตรฐาน

n  ผู้ปรุงและจำหน่ายอาหาร ต้องไม่เป็นพาหะนำโรคอหิวาตกโรค
n  ผู้สงสัยเป็นพาหะนำ/ผู้ป่วย โรคอหิวาตกโรค
n  อาหารที่เสี่ยง
เป้าหมาย
-สุ่มตรวจผู้ประกอบการ/บุคคลเสี่ยง โดยการทำ Rectum  Swab / อาหารที่เสี่ยง ดังนี้
          ๑.ผู้ประกอบการเขียงเนื้อ ทุกราย
          .ผู้ประกอบการปรุงและจำหน่ายอาหาร อื่นๆ หรือ บุคคลเสี่ยง ในเขต สถานบริการสาธารณสุขระดับตำบล  อย่างน้อยแห่ง ละ ๕  ตัวอย่าง โรงพยาบาลชุมชน อย่างน้อย รพ.ละ ๑๐ ตัวอย่าง
          .อาหารที่เสี่ยง เช่น อาหารที่มีแมลงวันตอม  อาหารสำเร็จรูป  อาหารที่ทำจากกะทิ  อาหารทะเล   อาหารประเภทหมัก เป็นต้น   สถานบริการสาธารณสุขระดับตำบล อย่างน้อยแห่ง ละ     ตัวอย่าง      โรงพยาบาล อย่างน้อย รพ. ละ ๓  ตัวอย่าง  โดยเก็บใน Carry  Blair และเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ ๒-.c

ระยะเวลาดำเนินการ  1.เก็บตัวอย่างในช่วง  มกราคม - มีนาคม  ๒๕๕๔
                          2.ส่งตัวอย่างในช่วงมกราคม - มีนาคม ๒๕๕๔  โดย สสอ.รวบรวม ส่ง สสจ.
                            3.ดำเนินการควบคุมและป้องกันโรค  หลังทราบผลการตรวจ

.เฝ้าระวังผู้ป่วยโรคอหิวาตกโรคในสถานบริการ
เกณฑ์มาตรฐาน
          - ทำ RSC ในผู้ป่วยนอก (OPD) ร้อยละ ๑๐
          - ทำ RSC ในผู้ป่วยใน  (IPD) ร้อยละ ๑๐๐
          - รพ.สต.เก็บ RSC ในผู้ป่วย Watery   Diarrhea ทุกราย
กรณีผู้ป่วยมีอาการคล้ายโรคอหิวาตกโรคทุกรายทีมแพทย์ต้องรายงานให้ที SRRT และห้องตรวจปฏิบัติการทราบเพื่อออกสอบสวนโรคทันที

๖. จัดเตรียมเวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมสำหรับสนับสนุนการป้องกันและควบคุมโรค
เกณฑ์มาตรฐาน
          - เวชภัณฑ์ ได้แก่ ORS, Tetracycline
          - เคมีภัณฑ์ ได้แก่ ผงปูนคลอรีน, โซดาไฟ,น้ำยาโซล,
          - Carry  Blair stock ไว้ใน รพ.สต.  จำนวน  ๕ ชุด
          - น้ำยา ว.110,ชุดทดสอบ SI2,ชุดตรวจวัดคลอรีน
เป้าหมายสนับสนุน
   .   น้ำยา ว.110/,ชุดทดสอบ SI2 
 ๒.  Carry  Blair 
 ๓.  ชุดตรวจหาเชื้อ Vibrio

 ๗ .ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขสภาวะสุขาภิบาลและสุขาภิบาลอาหารที่ไม่ได้ตามข้อกำหนดโดยขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เกณฑ์มาตรฐาน
.๑ ชุมชนก่อสร้าง, สถานีขนส่งผู้โดยสาร
   - น้ำดื่ม-น้ำใช้ ได้คุณภาพตามข้อกำหนด
 - มีส้วมเพียงพอ สะอาดและอยู่ในสภาพที่ดี)
   - มีการกำจัดขยะมูลฝอยและระบายน้ำเสีย
.๒ ตลาดสด/แผงลอย/ร้านอาหาร
   - ปรับปรุงสภาพการสุขาภิบาลให้ถูกตามหลักสุขาภิบาลอาหาร
   - ให้มีการล้างตลาดตามหลักสุขาภิบาลโดยมีการใช้สารชำระล้างและสารฆ่าเชื้อโรค
การดำเนินการ
-          ให้ข้อมูลส่วนที่ไม่ได้ตามข้อกำหนดแก่ผู้รับเหมาหรือผู้รับผิดชอบในแหล่งก่อสร้างเพื่อดำเนินการแก้ไขให้ได้มาตรฐาน
-          ประสานงานกับเทศบาล,อบต. การประปา เพื่อให้การสนับสนุนการปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่ไม่ได้ตามข้อกำหนด
๘. ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ในเรื่องการป้องกันและดูแลรักษาโรคอุจจาระร่วงขั้นต้นแก่ประชาชน
เกณฑ์มาตรฐาน  การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชน ในเรื่อง
. การล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าส้วมด้วยสบู่
. การรับประทานอาหารที่สะอาดและปรุงสุก
. การดื่มและใช้น้ำที่สะอาด
. การส่งเสริมให้มีส้วมที่ถูกสุขลักษณะ มีการใช้และการบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้
. การดูแลระบบการกำจัดน้ำเสียให้ถูกสุขลักษณะ
. การส่งเสริมมารดาให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
. การส่งเสริมให้รู้จักรักษาโรคอุจจาระร่วงขั้นต้นที่บ้าน กฎ ๓ ข้อ โดยเน้นการให้ ORT, ORS
การดำเนินการ
-          รณรงค์สัปดาห์ป้องกันและดูแลรักษาโรคอุจจาระร่วงขั้นต้นแก่ประชาชน (-๑๗  เมษายน ๒๕๕๓)โดยการให้สุขศึกษาลักษณะรายบุคคลและรายกลุ่มโดยวิธีนัดหมาย  จัดหน่วยประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ จัดนิทรรศการและใช้สื่อเผยแพร่ต่างๆ  แก่ประชาชนในชุมชน
-การประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ การใช้สื่อเอกสารสิ่งพิมพ์ ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้ขายอาหารเสี่ยง บริเวณตลาดสด/แผงลอย/ร้านจำหน่ายอาหาร ในเรื่อง ความสะดวก การเตรียม และการจำหน่ายอาหาร

๙. สำรวจและเก็บข้อมูลสภาวะสุขาภิบาลอาหารครั้งที่ ๒ เพื่อเปรียบเทียบและประเมินผลความก้าวหน้าของการปรับปรุงแก้ไข
เกณฑ์มาตรฐาน
- มีการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นภายในระยะเวลา 1 เดือน หลังจากผลการสำรวจครั้งแรก ข้อ ๓
 การดำเนินการ
-          ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการติดตามสำรวจและหาข้อมูล
-          ติดตามและประมวลผลจากการดำเนินงานแก้ไขปรับปรุงในส่วนที่ไม่ได้เกณฑ์มาตรฐาน
10. เมื่อมีรายงานผู้ป่วยโรคอหิวาตกโรคเกิดขึ้น ให้ทีม (SRRT)ออกปฏิบัติงานเพื่อสอบสวนและควบคุมโรคเชิงรุกภายใน ๓ ชั่วโมง นับตั้งแต่ได้รับรายงานและจะต้องควบคุมโรคให้สงบภายใน ๑๐ วัน หรือไม่เกิน generation ที่ ๒
เกณฑ์มาตรฐาน
๑๐.๑ให้การรักษาผู้ป่วย
- ตามแนวทางการบำบัดรักษาของกรมควบคุมโรค
๑๐.๒ ให้มีการค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมเพื่อให้การรักษาและตัดการแพร่กระจายของโรค
-ผู้สัมผัสโรคใกล้ชิดทุกรายหรือผู้ที่มีประวัติป่วยเป็นโรคอุจจาระร่วงในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา    
  จะต้องได้รับการตรวจอุจจาระหาเชื้อ และได้รับการจ่ายยา Tetracycline ครบทุกรายที่พบเชื้อ
 ๑๐.๓ ดำเนินการทำลายเชื้อในบริเวณที่ตรวจพบเชื้อ หรือสถานที่ที่สงสัยว่าจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อ และให้มีการใส่ผงปูนคลอรีนในแหล่งน้ำดื่ม น้ำใช้
- ตามเทคนิคการทำลายเชื้อ
๑๐.๔ สอบสวนเพื่อหาแหล่งโรคและเก็บตัวอย่างอาหาร น้ำ และสิ่งที่สงสัย ตรวจหาเชื้อในตัวอย่างอาหาร น้ำดื่ม น้ำใช้
       - เมื่อมีผู้ป่วยเกิดขึ้นแม้เพียง ๑ ราย ให้ถือว่ามีการระบาด ซึ่งต้องทำการสอบสวนโรคทันทีทุกราย
-          ตรวจหาเชื้อก่อโรคอหิวาตกโรคทางห้องปฏิบัติการ
๑๐.๕ การปรับปรุงคุณภาพน้ำ
- น้ำประปาต้องมีคลอรีนตกค้างไม่น้อยกว่า ๐. ppm.
๑๐.๖ ติดตามเฝ้าระวังในจุดที่เกิดโรคเพื่อควบคุมกำกับและติดตามว่ามีผู้ป่วยใหม่เกิดขึ้นหรือไม่
-          เฝ้าระวังโรค ๑๐ วัน ติดต่อกันเพื่อสามารถวินิจฉัยค้นหาผู้ป่วยใหม่ได้  และซักประวัติหาแหล่งโรค
การดำเนินการ
-ให้มีการรายงานผู้ป่วยที่มีการสงสัยและให้รายงานผลการตรวจอุจจาระหาเชื้อขั้นต้นภายใน 24 ชม. 
  เพื่อดำเนินการควบคุมโรคทันที
-ให้ถือเอายา Tetracycline เป็นยาปฏิชีวนะที่แนะนำให้ใช้เป็นอันดับแรก และจะต้องตรวจอุจจาระผู้ป่วยหลังได้ยาแล้วให้ผลการตรวจไม่พบเชื้อติดต่อกัน ๓ ครั้ง จึงจำหน่ายผู้ป่วย เพื่อป้องกันมิให้มี
   การกลับไปแพร่เชื้อในชุมชน รวมทั้งให้มีระบบการรักษาฟรีทุกรายในพื้นที่ที่มีการเกิดโรค
-          การเลือกใช้ยาปฏิชีวนะต้องคำนึงถึงความไวต่อยา หรือการดื้อยาของเชื้อในท้องถิ่นนั้นๆ ด้วย
-          การทำลายเชื้อและใช้ผงปูนคลอรีนให้ปฏิบัติตามแนวทางของกรมอนามัย
-          เก็บตัวอย่างอาหาร น้ำดื่ม  น้ำใช้ และสิ่งที่สงสัยส่งตรวจทุกแห่ง
-          ตรวจวัดปริมาณคลอรีนตกค้างในน้ำดื่ม-น้ำใช้ หากไม่พบคลอรีน ให้ตรวจหาเชื้อโคลิฟอร์ม
    แบคทีเรียและ Fecal coli form
-          ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น  เทศบาล    อบต.  เป็นต้น
-          เติมคลอรีนในแหล่งน้ำดื่ม ให้มีปริมาณคลอรีนตกค้าง (Residual Chlorine )  ได้ตามข้อกำหนด
-          การเฝ้าระวัง ติดตาม
: ติดตามประสานงานกับผู้นำชุมชน ในการแจ้งข่าวการเกิดโรคและค้นหาผู้ป่วยรายใหม่
: เก็บตัวอย่างอุจจาระผู้ป่วยและผู้สัมผัสที่พบเชื้อส่งตรวจจนผลการชันสูตรไม่พบเชื้อ 3 ครั้ง
: ให้ยาปฏิชีวนะผู้สัมผัสที่ตรวจพบเชื้อทุกคน
: ติดตามให้ผู้ที่ได้ยามีการรับประทานยาตามขนาดและกำหนดเวลาโดยเคร่งครัด

๑๑. ติดตามประเมินผลสำเร็จ และวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน และรายงานผล
เกณฑ์มาตรฐาน
         - รายงานการดำเนินการตรวจร้านผลิตน้ำดื่ม / น้ำแข็ง  เดือนเมษายน- พฤษภาคม
         - รายงานสรุปผลการสอบสวน ควบคุมโรค กรณีมีผู้ป่วยอหิวาตกโรค
         - รายงานสรุปผลการค้นหาอาหาร/ผู้ติดเชื้ออหิวาตกโรค ช่วงเทศกาลสงกรานต์
         - รายงาน ๕๐๖
         - รายงานเฉพาะกิจโรคอุจจาระร่วงในสถานบริการ  รายสัปดาห์ (เริ่ม ๑  เมษายน  ๒๕๕๔

งบประมาณ        

 ๑.จากงบประมาณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

              ๑.๑  ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ สสจ.สนับสนุนงบประมาณค่าตรวจรพช.ทุกแห่งที่รพ.มุกดาหาร
             ๑.๒  ค่าชุดตรวจอาหาร และน้ำ  (งานโภชนาการรับผิดชอบ)                                               

 ๒. จากงบประมาณ UC ของแต่ละ CUP

                         -  ค่ายา ,ORS
๓. จากงบประมาณ  อบจ. ,เทศบาล,อบต.        
                          -  ค่าผงปูนคลอรีน, โซดาไฟ,น้ำยาไลโซล และเคมีภัณฑ์ อื่น ๆ
  
     
                                     ฝ่ายควบคุมโรค
                                       สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร
                                        พฤศจิกายน ๒๕๕๔