healthy@nasameng

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

มาตรการ 5 ป เพื่อป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก

มาตรการ 5 ป เพื่อป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก
เพื่อป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก ให้ทุกคนในชุมชนร่วมกันปฏิบัติตามหลัก 5 . ดังนี้
  1. ปิด หากภายในบ้านมีโอ่ง ให้ปิดฝาโอ่งให้มิดชิด โอ่งที่ไม่ได้ใช้ ให้คว่ำไว้เพื่อป้องกันการเพาะพันธุ์ของยุงลาย
 2. เปลี่ยน ต้องหมั่นเปลี่ยน น้ำในแจกันดอกไม้ หรือขาตู้กับข้าว ทุก สัปดาห์ ใส่เกลือแกง หรือน้ำส้มสายชูเพื่อ ป้องกันการวางไข่ของยุงลาย
 3.  ปล่อย หากเป็นไปได้ให้ปล่อยและเลี้ยงสัตว์ประเภทต่าง ที่กินลูกน้ำยุงลายเป็นอาหาร อาทิ ปลาหางนกยูง ในโอ่งน้ำ บ่อน้ำ หรืออ่างบัว
 4.  ปรับปรุง ให้ทุกบ้านในชุมชนปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในบ้านและบริเวณบ้านไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายไม่ว่าจะเป็นถังขยะ ขวดน้ำหรือแก้วน้ำพลาสติก กระถางต้นไม้ หรือภาชนะต่าง ที่อาจทำให้มีน้ำขังในหน้าฝน
 5. ปฎิบัติ ป ที่ 1 5 โดยต่อเนื่องเพื่อความต่อเนื่องยั่งยืนในการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกให้หมดไป

ความหมายของดัชนีชี้วัดทางการเงิน 7 ตัว สำหรับการวิเคราะห์สถานการณ์การเงินการคลัง

ความหมายของดัชนีชี้วัดทางการเงิน 7 ตัว  สำหรับการวิเคราะห์สถานการณ์การเงินการคลัง ซึ่งอยู่ ในตัวชี้วัด  0301  ร้อยละของ รพ. ที่มีการวิเคราะห์ข้อมูลตามดัชนีชี้วัดทางการเงิน 7 ตัว ทุก 3 เดือน   ดังนี้

1) อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current ratio)         คือการบอกความสามารถในการชำระหนี้สินหมุนเวียนด้วยสินทรัพย์หมุนเวียน   คำนวณโดย
                   อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current ratio) =  ( สินทรัพย์หมุนเวียนสุทธิ)
                                                                                                                (หนี้สินหมุนเวียน)

 2) อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick ratio)        คือการบอกความสามารถในการชำระหนี้สินหมุนเวียนด้วยสินทรัพย์หมุนเวียนเร็ว  คำนวณโดย
                Quick ratio           =     ( เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด+ลูกหนี้สุทธิ )
                                                                                                      ( หนี้สินหมุนเวียน )

3) อัตราส่วนเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ต่อ หนี้สินหมุนเวียน (Cash ratio)   คือการบอกความสามารถในการชำระหนี้สินหมุนเวียนด้วยเงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสด 
    คำนวณโดย
                                 Cash ratio   =    เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
                                                                                       หนี้สินหมุนเวียน

แนวทางการให้บริการในคลินิกโรคเบาหวานใน รพ.สต.

แนวทางการให้บริการในคลินิกโรคเบาหวานใน รพ.สต.
คลินิกเบาหวาน
คลินิกความดันโลหิตสูง
1. ลงทะเบียนผู้ป่วยเบาหวานที่สถานีอนามัย
2. อสม.ดำเนินการเจาะเลือดก่อนวันนัด 1 สัปดาห์
3. เจ้าหน้าที่ตรวจ DTX ในวันนัด  (ในผู้ป่วยที่ อสม.
    เจาะเลือดแล้วพบว่าสูง) แล้วพบว่า
     3.1 ผู้ที่มีค่าน้ำตาลสูง               พบแพทย์ที่ สอ.
           เพื่อปรับยา หรือ ส่งต่อ
4. ผู้ป่วยที่มีค่าน้ำตาลไม่เกิน เข้าคลินิกรับยาปกติ
5. ให้สุขศึกษารายบุคคลตามสภาพปัญหา/
     กิจกรรมกลุ่ม
6. เสริมทักษะ
7. Home Health Care 

1. ลงทะเบียนผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่สถานี
    อนามัย
2. อสม.ดำเนินการวัดความดันโลหิตก่อนวันนัด 1
    สัปดาห์
3. เจ้าหน้าที่วัดความดันโลหิตในวันนัด  (ในผู้ป่วยที่
    อสม.วัดความดันโลหิตแล้วพบว่าสูง) แล้วพบว่า
     3.1 ผู้ที่มีค่าความดันโลหิตสูง                พบแพทย์
           ที่ สอ.เพื่อปรับยา หรือ ส่งต่อ
4. ผู้ป่วยที่มีค่าความดันโลหิตไม่เกิน เข้าคลินิกรับยา
    ปกติ
5. ให้สุขศึกษารายบุคคลตามสภาพปัญหา/
     กิจกรรมกลุ่ม
6. เสริมทักษะ
7. Home Health Care 

แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง

แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง
1.              การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
      ให้ทำในทุกรายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและ
ช่วยลดความดันโลหิตได้บ้าง ทำให้สามารถลดปริมาณการใช้ยาลดความดันโลหิต

วิธีการ
ข้อแนะนำ
ประสิทธิภาพของการลด SBP
การลดน้ำหนัก          
ให้ดัชนีมวลกาย (Body Mass index)
 = 18.5-24.9 กก./ตร.ม.
5-20 มม.ปรอท ต่อการลดน้ำหนักตัว 10 กก.
ใช้ DASH diet (Dietary
Approach to Stop Hypertention)
ให้รับประทานผัก ผลไม้ ที่ไม่หวานจัดให้มาก ลดปริมาณไขมันในอาหาร โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว
8-14 มม.ปรอท
จำกัดเกลือในอาหาร
ให้ลดการรับประทานเกลือโซเดียมต้องน้อยกว่า 100 mmol ต่อวัน (2.4 กรัมโซเดียม หรือ 6 กรัมของโซเดียมคลอไรด์)
2-8 มม.ปรอท
การออกกำลังกาย
ควรออกกำลังกายชนิด aerobic อย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดินเร็วๆ (อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน และเกือบทุกวัน)
4-9 มม.ปรอท
งดหรือลดการดื่มแอลกอฮอล์
จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ไม่เกิน 2 drinks/วันในผู้ชาย (ethanol 30 กรัม/วัน เช่น เบียร์ 720 มล., ไวน์ 300 มล.,วิสกี้ที่ยังไม่ผสม 90 มล.) และไม่เกิน 1 drinks/วัน ในผู้หญิงและคนน้ำหนักน้อย
2-4 มม.ปรอท


แบบสัมภาษณ์องค์กรชุมชน/ประชาชน มีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณสุข

แบบสัมภาษณ์องค์กรชุมชน/ประชาชน มีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณสุข
ตำบล……………อำเภอ …………… จังหวัด …………………ชื่อหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ ……………

คำชี้แจง

แบบสัมภาษณ์ฉบับนี้ใช้สำหรับสัมภาษณ์องค์กรชุมชน/ประชาชน ที่อยู่ในพื้นที่ของหน่วยบริการระดับปฐมภูมินั้นๆ ฉบับของแบบสัมภาษณ์ แบ่งออกเป็น 2 ตอน
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ตอนที่ 2 ข้อมูลของการมีส่วนร่วม                                 
ขอให้ตอบแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของท่าน เกี่ยวกับองค์กรชุมชน/ประชาชน มีส่วนร่วมกับท้องถิ่น ซึ่งข้อมูลที่ได้รับจะนำไปใช้ในการพัฒนาระบบงานด้านสาธารณสุขให้นั้น สิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป

ข้อมูลทั่วไป        1. (    )  ชาย      (    ) หญิง

2. อายุ…………..ปี
3. การศึกษา ระบุ ……………………….
4. อาชีพ ระบุ…………………………….
5. บทบาท   (     ) อบต.   (       ) อสม.  (       ) กสค.  (        ) กลุ่มอาชีพ     (       ) ประชาชน

ข้อมูลการมีส่วนร่วม    องค์กรชุมชน/อสม./ชุมชน

ข้อความ
มี  (1)
ไม่มี (0)
1.ท่านมีส่วนร่วมกับองค์การชุมชนในด้านสาธารณสุข
       -  การค้นหาปัญหา
       -  การวางแผนงาน
       -  การหาแนวทางแก้ไข
       -  ร่วมดำเนินกิจกรรม
       -  ร่วมสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินกิจกรรม
       -  มีการจัดตั้งชมรมสุขภาพในพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชน ละ 1 ชมรม


2. ความรู้
       - ท่านมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการตลาดสดน่าซื้อ
       - ท่านมีส่วนร่วมในการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของชุมชน
       - ท่านได้รับความรู้เกี่ยวกับด้านดูแลสุขภาพตนเองจากสื่อต่างๆ ในท้องถิ่น
       - ท่านได้ให้ความรู้ด้านสุขภาพที่ถูกต้องแก่บุคคลในครอบครัว/เพื่อนบ้าน


3. ท่านเต็มใจและพึงพอใจที่ได้มีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชน
       (       ) มาก                       (3)
       (       ) ปานกลาง              (2)
       (       ) น้อย                      (1)


รวม




แบบสัมภาษณ์ประชาชน

คำชี้แจง แบบสัมภาษณ์นี้ใช้สำหรับ สัมภาษณ์ประชาชนในเขตรับผิดชอบของหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ ทำได้โดยการทำเครื่องหมาย ü  ในช่อง  หน้าคำตอบที่ท่านต้องการ
1. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ไปที่บ้านของท่านและถามข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับสมาชิกในครอบครัวของท่าน
 ไป (1)
 ไม่เคยไป (0)
2. ท่านได้มีส่วนร่วมในการทำแฟ้มครอบครัวของท่านหรือไม่
                                 มี (1)
                                 ไม่มี (0)
3. เมื่อท่านเจ็บป่วย ท่านไปใช้บริการรักษาพยาบาลที่
                                 หน่วยบริการระดับปฐมภูมิใกล้บ้าน (สอ.) (1)
                                 ซื้อยารับประทานเอง (0)
                                 ไปโรงพยาบาล (0)
4. ได้มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาเยี่ยมและถามข้อมูลสมาชิกข้อมูลเพิ่มเติมจากท่าน
                                 ปีละ 1 ครั้ง (1)
                                 3 เดือน ครั้ง (2)
                                 ไม่เคย (0)
                                 อื่นๆ
















แบบสำรวจความพึงพอใจประชาชนต่อกิจกรรมชุมชน

คำชี้แจง

                    การสำรวจข้อมูลนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำระบบคุณภาพการบริการหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ โปรดแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ อันจะนำผลไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการบริการให้ก้าวหน้าและเป็นประโยชน์แก่ประชาชนให้มากยิ่งขึ้น
                 ในการนี้ขอความร่วมมือจากท่านกรุณาตอบแบบสำรวจ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้
               ตอนที่ 1 เป็นการสอบถามข้อมูลในด้านสถานภาพของผู้กรอกแบบสำรวจ
               ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ
              คะแนนความพึงพอใจในตอนที่ 2 แยกเป็น  5  ระดับ คือ
                       มากที่สุด = 5     ,  มาก = 4   ,  ปานกลาง = 3   ,    น้อย  = 2  , น้อยที่สุด = 1 
ตอนที่ 1  โปรดใส่เครื่องหมาย / ลงในช่องที่ตรงกับสถานภาพของท่าน
                อายุ………………...........ปี
                อาชีพ……………………………………………………….
                การศึกษา…………………………………………………..
                สถานภาพ
                          c   ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชน              c   ผู้รับบริการ
ตอนที่ 2  โปรดใส่เครื่องหมาย / ในช่องที่ตรงกับความเห็นของท่าน
ลักษณะการบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิ
ระดับความพึงพอใจ
มากที่สุด
มาก
น้อย
น้อยที่สุด
ไม่มีข้อมูล
1. นวัตกรรมทำให้บริการด้วยความสะดวก รวดเร็ว





2. นวัตกรรมทำให้หน่วยบริการปฐมภูมิมีความต่อเนื่องในการให้บริการ





3. นวัตกรรมทำให้บริการเป็นไปตามกำหนดเวลาราชการ และ/หรือ เวลาที่ประกาศ





4. นวัตกรรมทำให้หน่วยบริการปฐมภูมิสื่อสารสร้างความเข้าใจแก่ผู้รับบริการ





5. นวัตกรรมทำให้หน่วยบริการที่ท่านได้รับจากการดำเนินงานของหน่วยบริการปฐมภูมิมีคุณภาพ





6. นวัตกรรมทำให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ ไม่ฟุ่มเฟือย