healthy@nasameng

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ตัวชี้วัดการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

๑. มีระบบขอมูลสุขภาพผูป่วยในพื้นที่ที่เป็นปัจจุบัน และสามารถเชื่อมโยงระหว่างรพ.สต.กับโรงพยาบาลแม่ข่ายได้
๒. อัตราส)วนการใชบริการผูป่วยนอกของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบที่ใชบริการที่รพสต.เทียบกับรพแม่ข่าย มากกว่า ๖๐:๔๐
๓. ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงมีการลงทะเบียนที่ รพ.สต.เพิ่มขึ้น (รอยละ ๑๐ เพื่อลดความแออัดของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในโรงพยาบาล โดยการย้ายผู้ป่วยโรคเรื้อรังจากโรงพยาบาลแม่ข่ายไปสู่ รพ.สต.
๔. มีบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคพื้นฐานได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน เช่น EPI, ANC, Pap smear, คัดกรองโรคเรื้อรัง
๕. ร้อยละของประชากรในทะเบียนกลุ่มที่ตองการดูแลพิเศษ เช่น ผู้ป่วย Palliative care ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยโรคเอดส์   ผู้ป่วยจิตเวช ผู้ป่วยวัณโรค ผู้พิการ ผู้สูงอายุ และโรคเรื้อรัง ได้รับการเยี่ยมบ้านตามมาตรฐานการใหบริการ (ร้อยละ ๘๐)
๖. ร้อยละของประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้แบบเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ(ของกองสุขศึกษา) เป็นเครื่องมือ และมี อสม.เป็นพี่เลี้ยง ร้อยละ ๖๐
สำหรับศูนย(สุขภาพชุมชนเมือง)
๑. ให้ รพศ. รพท. ดำเนินการพัฒนาศูนย์ได้ตามเป้าหมาย (รพศ. อย่างน้อย ๓ แห่ง รพท. อย่าง น้อย ๒ แห่ง ภายใน ๖๐ วัน
๒. ที่มีศูนย์ ฯ ตามเกณฑ์แล้วให้ใช้ตัวชี้วัดเช่นกับรพสต.

ขั้นตอนที่สำคัญในการส่งข้อมูลการใช้ยาจากสมุนไพรให้กับ สปสช.

1. หน่วยบริการต้องเปลี่ยนรหัสยาสมุนไพรของหน่วยบริการให้เป็น “รหัสมาตรฐานยาจากสมุนไพร”
ที่ประกาศโดยกระทรวงสาธารณสุข เท่านั้น
หากไม่ใช่รหัสมาตรฐานยาจากสมุนไพร
สปสช. ไม่สามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาจัดสรรเรื่องการใช้ยาจากสมุนไพรฯ ได้

การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นบริการที่จัดให้แก่ประชาชนไทยทุกสิทธิ เป็นรายบุคคลและครอบครัว ตามกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่ระบุเป็นสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยมีเป้าประสงค์เพื่อเพิ่มการเข้าถึงและความครอบคลุมบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และเพิ่มคุณภาพชีวิตและลดภาระโรคที่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศ
ในปีงบประมาณ 2555 ค่าใช้จ่ายสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคมีจำนวน 329.65 บาทต่อ
ประชากรสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 48.333 ล้านคน หรือเท่ากับอัตรา 244.76 บาทต่อประชากรไทยทุกคนจำนวน 65.096 ล้านคน การบริหารแบ่งเป็นประเภทบริการย่อย 5 รายการ และมีการบริหารจัดการ ดังนี้
1.      บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่บริหารระดับประเทศ (P&P National priority program and central procurement)
2.      บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่มีความต้องการใช้บริการเด่นชัด (P&P Expressed demand services)
3.      บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับเขตพื้นที่ (P&P Area-based services)
4.      สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
5.      บริการทันตกรรมส่งเสริมป้องกัน
ทั้งนี้กรณีเงินเหลือจ่ายจาก 5 รายการนี้สามารถปรับเกลี่ยค่าใช้จ่ายระหว่างกันได้

แบบเหมาจ่ายตามชุดกิจกรรม(Performance) ของกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ

1.กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด 
ชุดกิจกรรม ได้แก่  ANC,  PNC, Family Planing
2.กลุ่มเด็กอายุ 0-5 ปี 
ชุดกิจกรรม ได้แก่ EPI,บริการตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ,การติดตามการเจริญเติบโต(ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง) และการประเมินพัฒนาการและความฉลาดทางอารมณ์พร้อมทั้งการให้คำปรึกษาแนะนำ
3.กลุ่มเด็กอายุ 6-12 ปี 
ชุดกิจกรรม ได้แก่ บริการตรวจสุขภาพทั่วไปและการติดตามการเจริญเติบโต บริการตรวจการได้ยิน บริการวัดสายตาด้วยแผนภูมิสเนลเลน
 
กลุ่มผู้ใหญ่อายุ 30-60 ปี
ชุดกิจกรรม ได้แก่ Pap smearในเพศหญิง  บริการตรวจคัดกรองภาวะโรคซึมเศร้า บริการตรวจคัดกรองความเสี่ยงและส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคกลุ่ม Metabolic (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง)
5.   กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
ชุดกิจกรรม ได้แก่ บริการตรวจคัดกรองภาวะโรคซึมเศร้า บริการตรวจคัดกรองความเสี่ยงและส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคกลุ่ม Metabolic (เบาหวาน ความดันโลหิตสูง)

มารู้จักกับ “หัวเราะ...สร้างสุขคลายเครียด ”

มารู้จักกับ หัวเราะ...สร้างสุขคลายเครียด และ คิดดี คิดได้ใจเป็นสุข   ของกรมสุขภาพจิต
(เหมาะสำหรับใช้เผยแพร่ กับบุคคลทุกเพศ ทุกกลุ่มอายุ)
หัวเราะ...สร้างสุข
         สูตรสร้างอารมณ์ดี   ทำให้ชีวิตยืนยาวและมีสุขภาพจิตดีเรียกว่า หัวเราะสร้างสุข  เน้นการหัวเราะแบบรู้ตัวเอง  เพื่อให้ได้ประโยชน์จากการหัวเราะ   กระตุ้นฮอร์โมน  ประเภท ปลุกเร้า  ให้มีความสุข  โดยการเปล่งเสียงหัวเราะและประกอบท่าทางที่ให้ผลเชิงสุขภาพ  การฝึกเสียง โอ อา อู เอ  ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการบวนการหัวเราะสร้างสุข
หัวเราะสร้างสุข  ๓ วิธีได้แก่
๑.ท้องหัวเราะ  เสียง โอ
                   เป็นการเปล่งออกเสียงจากท้อง  และใช้ท่าทางประกอบ  ยืนตัวตรง  กางขาเล็กน้อย  กางแขนออกไปด้านข้างของลำตัว  งอแขนเล็กน้อย  กำมือทั้งสองข้าง   โดยชูนิ้วหัวแม่มือขึ้น  ตามองตรง  สูดลมหายใจเข้าปอดลึก ๆ กักลมไว้  จากนั้นค่อย ๆ เปล่งเสียง โอ  โอะ ๆ ๆ ๆ ๆ …”   เหมือนเสียงซานตาคลอสหัวเราะ  ขณะเดียวกันให้ค่อย ๆ ปล่อยลมหายใจออก  พร้อมขยับแขนขึ้นลง
               ประโยชน์ของท่าท้องหัวเราะ   
                   เมื่อเปล่ง เสียง  โอ   ทั้งลำไส้ใหญ่  ลำไส้เล็ก  ตับ  ไต และกระเพาะอาหาร  จะขยับขับเคลื่อนไปด้วย   ท่านี้ช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานดีขึ้น  ช่วยบำบัด  โรคลำไส้อักเสบ  โรคกระเพาะอาหาร   ท้องผูก   ท้องเสีย  รวมถึงคนที่มีปัญหาโรคอ้วน  ผอมแห้งแรงน้อย  มีพุง  หน้าท้องหย่อน  และเบื่ออาหาร
๒.อกหัวเราะ  เสียง อา  
                   เป็นการเปล่งเสียงออกจากอก   ใช้ท่าทางประกอบ  ยืนตรง  กางขาเล็กน้อย  กางแขนออกไปข้างลำตัวเหมือนนกกระพือปีก    หงายมือขึ้น  และปล่อยมือตามสบาย   ตามองตรง  สูดลมหายใจลึก ๆ  กักลมไว้  ค่อย ๆ เปล่งเสียง อา  อะ ๆ ๆ ๆ ๆ ....   ดังๆ เหมือนเสียงเจ้าพ่อหัวเราะ   ขณะเดียวกันให้ปล่อยลมหายใจออก
พร้อม ๆ กับกระพือแขนขึ้นลง
                ประโยชน์ของท่าอกหัวเราะ   
                    เมื่อเปล่ง  เสียง  อา    จะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อบริเวณหน้าอก  หัวใจ  ปอด และไหล่ขยับเขยื้อนไปด้วย   ท่านี้จะช่วยให้อวัยวะบริเวณหน้าอก  ปอด และไหล่ ขยับเขยื้อนไปด้วย   ท่านี้จะช่วยให้อวัยวะบริเวณหน้าอกทั้งหมดทำงานได้ดีขึ้น   และช่วยบำบัดโรคความดันโลหิตสูง    โรคหัวใจ  โรคปอด  อาการเจ็บแน่นหน้าอก  เส้นเลือดหัวใจตีบ  โรคขาดเลือด โดยเฉพาะช่วยให้การเต้นของหัวใจทำงานดีขึ้น   ส่งผลให้การสูบฉีดและการไหลเวียนเลือดในร่างกายดีขึ้น
๓.ไหล่หัวเราะ  เสียง  เอ  
เป็นการเปล่งเสียงและใช้ท่าบริหารช่วงไหล่  ยืนตรงส่ายไหล่ไปมา ซ้าย ขวา  เหมือนการว่ายน้ำฟรีสไตล์  พร้อมกับการเปล่งเสียง เอ  เอะ ๆ ๆ ๆ ๆ ...    ใครที่มีปัญหาเกี่ยวกับไหล่  ท่านี้ช่วยได้
คิดดี  คิดได้  ใจเป็นสุข

บัตรบันทึกการรับบริการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปี

บัตรบันทึกการรับบริการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปี
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาสะเม็ง  อำเภอดอนตาล  จังหวัดมุกดาหาร


ชื่อ.............................................................................
HN ……………………………
วัน เดือน ปี เกิด ........................................................
บ้านเลขที่ ..................../......................
เลขประจำตัวประชาชน ................................................
ชื่อมาดา...................................ชื่อบิดา..................................



ครั้งที่
1
2
3
 4 ( B 1  )
5 ( B 2 )
วัคซีน
วันนัด
วันฉีด
วันนัด
วันฉีด
วันนัด
วันฉีด
วันนัด
วันฉีด
วันนัด
วันฉีด
BCG










HB










OPV,DHB










OPV,DHB










OPV,DHB










MMR










OPV,DPT










JE










OPV C










หมายเหตุ
Lot
Exp.
Lot
Exp.
Lot
Exp.
Lot
Exp.
Lot
Exp.

































ผู้ให้บริการ











หมายเหตุ
            .........................................................................................................................................................................
            .........................................................................................................................................................................
แบบเฝ้าระวังอาการ AEFI

วันที่พบปัญหา
วันที่ปัญหาสิ้นสุด
HN.
ปัญหา/การวินิจฉัยโรค/การรักษาที่ให้
ผลการรักษา