healthy@nasameng

วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

มาตรฐานการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

 มาตรฐานการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค  
ตอนที่ 1 มาตรฐานการบริหารจัดการวัคซีนและระบบลูกโซ่ความเย็น
ตอนที่ มาตรฐานคุณภาพการให้บริการวัคซีน
ตอนที่ มาตรฐานการบันทึกข้อมูลในแฟ้มข้อมูลงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

ศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมสุขภาพชุมชนตำบลนาสะเม็ง อำเภอดอนตาล

ที่มาของโครงการ
                 จากการดำเนินงานศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมสุขภาพชุมชน ได้เกิด ผลผลิต คือ อสม. และประชาชนในพื้นที่ มีบทบาทในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคมได้อย่างยั่งยืน มีจิตสำนึกและแรงศรัทธาที่ดีและจากการ พัฒนาองค์ความรู้สู่สุขภาพดีของชุมชน  ก่อให้เกิดการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนที่เน้นการแก้ปัญหาด้านสุขภาพอนามัย ส่งเสริมสุขภาพ และให้ความรู้ตามกลุ่มวัย การพัฒนาบุคคลต้นแบบสุขภาพดีของชุมชน ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้น จากการการเรียนรู้ร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ การทำงานร่วมมือจากทุกภาคส่วน เน้นการเข้าถึงข้อมูลที่สะท้อนให้เห็นปัญหาด้านสุขภาพของคนในพื้นที่ และปัญหาเฉพาะของประชากรกลุ่มวัยต่างๆ  ตลอดจนวิธีการทำงานที่เน้นการทำงานเชิงรุก แบบมีส่วนร่วมในทุกระดับของชุมชน

วัตถุประสงค์
                 เพื่อให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข  ผู้นำชุมชน กลุ่มองค์กรชุมชน  อบต.  อสม. ประชาชนในพื้นที่และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ตลอดจนเสริมสร้างความมุ่งมั่นของแกนนำที่มีความตั้งใจในการพัฒนางานสุขภาพในชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืน 

ขั้นตอนการดำเนินงาน
      1. ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน
      2. ประชุมคณะกรรมการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาสะเม็ง
      3. อบรมเชิงปฏิบัติการแกนนำสุขภาพชุมชน ( workshop ) ในกิจกรรมการสร้างสุขภาพ การป้องกันโรค กระบวนการการดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาสุขภาวะชุมชน การระดมสมองแกนนำชุมชนในการพัฒนาสุขภาพของชุมชน
      4. ดำเนินกิจกรรมตามแนวคิดในการพัฒนาสุขภาพชุมชน คือ การทำงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เน้นการเข้าถึงข้อมูลที่สะท้อนให้เห็นปัญหาด้านสุขภาพของคนในพื้นที่และปัญหาสุขภาพซึ่งเป็นปัญหาเฉพาะของประชากรกลุ่มวัยต่างๆ  ตลอดจนวิธีการทำงานที่เน้นการทำงานเชิงรุก แบบมีส่วนร่วมในทุกระดับของชุมชน
      5. รายงานผลการดำเนินงานและร่วมสรุปผลสำเร็จในการดำเนินงาน รวมทั้งปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ในขณะดำเนินงานสร้างสุขภาพชุมชน
      6. ร่วมเสนอแนวทางการแก้ไข และพัฒนาต่อไป

วิธีการใช้งาน
      โครงการศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมสุขภาพชุมชน สะท้อนให้เห็นผลลัพธ์การพัฒนาระบบบริการสุขภาพแก่ประชากรในกลุ่มวัยต่างๆ  การพัฒนาระบบการทำงานของ อสม. ในการดูแลสุขภาพชุมชน เกิดสำเร็จในส่วนของการพัฒนาศักยภาพคนที่เกี่ยวข้องตลอดกระบวนการ  และที่สำคัญก่อให้เกิดการพัฒนาวิธีการทำงานด้านสุขภาพในชุมชน  แนวปฏิบัติ ตลอดจนเครื่องมือในการทำงาน

ตัวชี้วัดผลสำเร็จของโครงการและผลลัพธ์
     การที่ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานตลอดจนความมุ่งมั่นของแกนนำที่มีความตั้งใจในการพัฒนางานสุขภาพในชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืน

นวัตกรรมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนการจัดการสุขภาพของชุมชนอย่างไร
    ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นที่เป็นรูปธรรมจากการดำเนินงานโครงการศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมสุขภาพชุมชน สะท้อนให้เห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทั้งในส่วนของผลลัพธ์เชิงระบบ ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาระบบบริการสุขภาพแก่ประชากรในกลุ่มวัยต่างๆ  การพัฒนาระบบการทำงานของกลุ่มผู้ให้ความรู้ ดูแลสุขภาพ (อสม.)  เกิดสำเร็จในส่วนของการพัฒนาศักยภาพคนที่เกี่ยวข้องตลอดกระบวนการ  และที่สำคัญก่อให้เกิดการพัฒนาวิธีการทำงานด้านสุขภาพในชุมชน  แนวปฏิบัติ ตลอดจนเครื่องมือในการทำงาน และเกิดการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนที่เน้นการแก้ปัญหาด้านสุขภาพอนามัย ส่งเสริมสุขภาพและให้ความรู้ตามกลุ่มวัย พัฒนาบุคคลต้นแบบสุขภาพดีของชุมชน ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากการการเรียนรู้ร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ซึ่งได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข  ผู้นำชุมชน กลุ่มองค์กรชุมชน  อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน และประชาชนในพื้นที่  แนวคิดในการพัฒนาสุขภาพชุมชน คือ การทำงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เน้นการเข้าถึงข้อมูลที่สะท้อนให้เห็นปัญหาด้านสุขภาพของคนในพื้นที่และปัญหาสุขภาพซึ่งเป็นปัญหาเฉพาะของประชากรกลุ่มวัยต่างๆ  ตลอดจนวิธีการทำงานที่เน้นการทำงานเชิงรุก แบบมีส่วนร่วมในทุกระดับของชุมชน

เครือข่ายที่ร่วมขับเคลื่อน
      ภาคีเครือข่ายจะประกอบไปด้วยทุกภาคส่วนทั่งของรัฐ เอกชน และประชาชน ได้แก่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำชุมชน กลุ่มองค์กรชุมชน  อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.)  องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
และประชาชนในพื้นที่

ข้อเสนอแนะและปัญหาอุปสรรค
      1. คปสอ.ดอนตาล ต้องกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ชัดเจนและต่อเนื่อง รวมทั้งมีความตั้งใจในการพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิต้นแบบ            
      2. ขาดงบประมาณการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานได้ครบถ้วน

แบบบันทึกการเยี่ยมผู้ป่วยและครอบครัวที่บ้าน

แบบบันทึกการเยี่ยมผู้ป่วยและครอบครัวที่บ้าน
ชื่อ-นามสกุล...........................................................................อายุ.............ปี HN..............................................
ที่อยู่....................................................................................................................................................................
อยู่ในพื้นที่ รพ.สต......................................................................................................................................
แผนที่บ้าน




ประวัติครอบครัว
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................ผังเครือญาติ




รายการยาที่ใช้รักษา............................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
เวลาที่กินยา....................................................................วิธีการเตือน...................................................................
ปัญหาอุปสรรคในการกินยา.................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
การรักษาอื่น ๆ (เช่นสมุนไพร ลูกกลอน ยาดองฯลฯ)...ระบุ.................................................................................
............................................................................................................................................................................

เกณฑ์มาตรฐานในการดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการในชุมชน

เกณฑ์มาตรฐานในการดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการในชุมชน
             ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการในชุมชน  แบ่งออกเป็น  3  กลุ่ม  ดังนี้

กลุ่มที่  1
: ประเภทช่วยเหลือตัวเอง  ช่วยเหลือผู้อื่น  ชุมชนและสังคมได้
เกณฑ์การเยี่ยม
: เยี่ยมโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน  ปีละ  1  ครั้ง
กลุ่มที่  2
: ประเภทช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง
เกณฑ์การเยี่ยม
: เยี่ยมโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน/เจ้าหน้าที่สาธารณสุข  เดือนละ  1  ครั้ง
กลุ่มที่  3
: ประเภทช่วยเหลือตัวเองไม่ได้  พิการหรือทุพพลภาพ (กลุ่มติดเตียง)
เกณฑ์การเยี่ยม
: เยี่ยมโดยสหวิชาชีพ  อย่างน้อยเดือนละ  2 ครั้ง


            หมายเหตุ  หน่วยบริการสาธารณสุขทุกแห่งต้องมีข้อมูลพื้นฐานผู้สูงอายุ   และคนพิการ   ในพื้นที่รับผิดชอบ
                              แยกตามกลุ่มดังกล่าวข้างต้น