healthy@nasameng

วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

มาตรการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก

มาตรการ
1. การประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                1.1 การประสานงานกับ อบต.นาสะเม็ง /อบต.
                     1) การป้องกันการระบาด  โดยการสนับสนุนสารเคมีกำจัดลูกน้ำยุงลาย (ทรายทีมีฟอส) อย่างพอเพียง 3 เดือน/ครั้ง/ครัวเรือน
                     2) เมื่อเกิดโรคระบาด  โดยกำจัดตัวแก่ยุงลายในพื้นที่ได้รับการรายงานการเกิดโรคหรือเกิดการระบาดรัศมี 100 เมตร โดยใช้สูตร 0 3 - 7- 14- 21  หมายความว่า พ่นครั้ง 1 อีก 3 วัน พ่น ครั้งที่ 2  อีก  7 วัน พ่น  ครั้งที่ 3  และ อีก 14 วัน พ่น ครั้งที่ 4 ตามลำดับ
                      3) อบต.นาสะเม็ง เตรียมสารเคมี ได้แก่สารเคมีฆ่าตัวแก่ สารเคมีกำจัดลูกน้ำยุงลาย (ทรายทีมีฟอส) และเครื่องพ่นฝอยละออง หรือเครื่องพ่นหมอควันให้พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา
                      4) อบต.นาสะเม็ง  ร่วมกับ อสม.สำรวจและทำลายลูกน้ำตามรางระบายน้ำรอบอาคาร รางระบายน้ำในหมู่บ้าน/ชุมชน
                 1.2 โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก  วัด และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
                      1) ให้มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างสม่ำเสมอ ในแหล่งภาชนะที่มีน้ำ ขังทั้งในอาคาร และบริเวณโดยรอบอาคารที่มีน้ำขัง เช่นโพรงไม้  เศษขยะ ยางรถยนต์ น้ำขังตามแอ่งต่างๆ เป็นต้น
                       2)   ร้านค้า บ้านว่างไม่มีคนพักอาศัย และอื่น ๆ ทุกแห่งให้ความร่วมมือ ในการกำจัดแห่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เช่น โรงงานแปรรูปไม้ไผ่ต้องกำจัดข้อไม้ไผ่ไม่ให้มีน้ำขัง 

2. มาตรการป้องกันและเฝ้าระวังระดับครัวเรือน (มาตรการเขียวแดง)
                      2.1 ทุกครัวเรือนให้ความร่วมมือในการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทุกวันศุกร์
                2.2 ทุกครัวเรือนให้ความร่วมมือกับผู้นำชุมชน และ อสม. ในการสำรวจลูกน้ำยุงลายทุกวันศุกร์ และยอมรับมาตรการเขียวแดง คือ หาก อสม. สำรวจภาชนะทั้งในบ้าน /บริเวณบ้าน หรือพบแหล่งน้ำขังในบริเวณบ้านพบลูกน้ำยุงลาย ทาง อสม. จะปักธงแดงแจ้งเตือนว่าสมาชิกในครัวเรือนนั้นพบลูกน้ำยุงลายและเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก ต้องกำจัดลูกน้ำยุงลาย   หาก อสม. สำรวจภาชนะทั้งในบ้าน /บริเวณบ้าน /แหล่งน้ำขังในบริเวณบ้านไม่พบลูกน้ำยุงลายทาง อสม. จะปักธงเขียวแจ้งเตือนว่าครัวเรือนที่สำรวจไม่พบลูกน้ำยุงลาย สมาชิกในครัวเรือนลดความเสี่ยงจากการป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก

3. มาตรการ อสม. เชี่ยวชาญการควบคุมโรคไข้เลือดออก ( มาตรการ LOCK  BOX) อสม. ทุกคน รับผิดชอบครัวเรือนตามละแวกที่ อสม. รับผิดชอบ ประมาณ 8-15 ครัวเรือน โดย
                   3.1 สำรวจและแนะนำสมาชิกครัวเรือนให้กำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องทุกวันศุกร์ ตลอดช่วงการระบาดของโรค พร้อมรายงานผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายให้ รพ.สต.นาสะเม็ง ทราบ
                   3.2 นำทรายเทมีฟอสที่ได้รับการสนับสนุนจากเทศบาล/อบต. ไปแจกจ่ายให้ทุกครัวเรือน 3 เดือน/ครั้ง/ครัวเรือน
                   3.3 เมื่อเกิดโรคระบาดในละแวก  หมู่บ้าน หรือ หมู่บ้านใกล้เคียง สิ่งที่ อสม. ต้องปฏิบัติคือ
                        1) ประสานขอรับความร่วมมือกับเจ้าบ้าน  ครู/นักเรียน กำจัดภาชนะที่มีน้ำขัง กำจัดขยะมูลฝอย ทั้งในบ้าน บริเวณบ้าน สวนข้างบ้าน บริเวณถนนนอกบ้าน และอื่น ๆ โดยทำอย่างต่อเนื่อง ทุกวันศุกร์
                        2) ประสานเจ้าบ้านให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ หรือ พนักงานพ่นฝอยละออง/หมอกควัน เพื่อทำการกำจัดตัวแก่ยุงลาย
4. มาตรการสำหรับผู้นำชุมชน  บทบาทของผู้นำชุมชนเพื่อบริหารจัดการ การควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
                  4.1 ประสานงานกับชุดปฏิบัติงานระดับหมู่บ้าน/ชุดปฏิบัติระดับตำบล จัดเวทีประชาคมเพื่อให้ทุกครัวเรือนยอมรับมาตรการเขียวแดง
                   4.2  สนับสนุนกิจกรรมของ อสม. และครัวเรือน ทั้งการสำรวจลูกน้ำยุงลาย   การกำจัดลูกน้ำยุงลาย และการทำลายตัวแก่ยุงลาย

5. ตัวชี้วัดมาตรการการเฝ้าระวังการเกิดโรค
                   5.1 การหาดัชนีความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย โดย  อสม. สำรวจภาชนะทั้งในครัวเรือนและรอบบริเวณบ้าน  ทุกครัวเรือน พร้อมบันทึกแบบสำรวจ ปฏิบัติทุกวันศุกร์ 
                  5.2 ค่าดัชนีที่บ่งชี้ว่าสามารถควบคุมการเกิดโรคไข้เลือดออก ได้ คือ ค่าร้อยละภาชนะที่พบลูกน้ำไม่เกิน 10 (CI > 10) ค่า ร้อยละของหลังคาเรือนที่พบลูกน้ำไม่เกิน 10 (HI > 10)
                 5.3 หากหมูบ้านเกิดโรคไข้เลือดออก การควบคุมโรคคือ จะต้องสามารถทำลายลูกน้ำยุงลายให้ได้ค่าร้อยละภาชนะที่พบลูกน้ำ เท่ากับ 0 ( CI = 0) ค่า ร้อยละของหลังคาเรือนที่พบลูกน้ำ (HI = 0)
             
                                                                                    ด้วยความปรารถนาดีจาก
รพ.สต.นาสะเม็ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น