healthy@nasameng

วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

แนวทางการดำเนินงานระบาดวิทยา

แนวทางการดำเนินงานระบาดวิทยา

กลยุทธ์
1.      การพัฒนางานระบาดวิทยาให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด
2.      การขยายพื้นที่ที่ใช้ระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของโรคและภัยต่าง ๆ 
3.      การพัฒนาระบบข่าวกรองทางระบาดวิทยา  
4.      การพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขทางด้านระบาดวิทยา  ทั้งการจัดประชุม/อบรม/สัมมนา และการพัฒนาระหว่างงาน (On the Job Training)
5.      การพัฒนาปริมาณและคุณภาพของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT)  ตามเป้าหมาย  One Team One Operation
               
กิจกรรม
1.      การนิเทศและประเมินมาตรฐานงานระบาดวิทยา 
1.1      การประเมินมาตรฐาน SRRT  ของทีม  SRRT  ระดับอำเภอ *  
1.2      การประเมินมาตรฐานงานระบาดวิทยาโรคติดต่อของ CUP และ PCU    
1.3      การนิเทศงานทางระบาดวิทยา
2.      งานข่าวกรองทางระบาดวิทยา  
2.1   การรวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลในระบบเฝ้าระวังต่าง ๆ เช่น ข้อมูล รง.506, 506/1, 506/2   รายงานการบาดเจ็บ 19 สาเหตุ   ข้อมูล IS   ข้อมูลผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
2.2      การวิเคราะห์  ติดตามสถานการณ์  และคาดคะเนแนวโน้ม 
2.3      การจัดทำรายงานสถานการณ์โรคประจำเดือน *
2.4      การจัดทำรายงานสรุปสถานการณ์ทางระบาดวิทยาของโรคที่กำลังมีการระบาดหรือโรค/ภัยตามระบบเฝ้าระวังต่าง ๆ โดยมีข้อเสนอแนะเพื่อการวางแผนหรือควบคุมโรค *
2.5      การรวบรวมข้อมูลและจัดทำรายงานโรคเร่งด่วนประจำสัปดาห์
2.6      การรายงานข้อมูลพิเศษตามสถานการณ์  เช่น รายงาน อี. 2  โรคไข้เลือดออก  เป็นต้น 
2.7      การตรวจจับการระบาด  เช่น ต้องตรวจสอบค้นหาการเกิดโรคแบบกลุ่มก้อน (Cluster) ของโรคปอดบวม และไข้หวัดใหญ่ อย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว   
2.8      ผลักดันให้มีการใช้ประโยชน์จากข่าวกรองทางระบาดวิทยาในการประชุม  War room
3.      การสอบสวนทางระบาดวิทยา 
3.1      สอบสวนการระบาดที่มีคุณภาพ  ตามโรค และเกณฑ์ที่สำนักระบาดวิทยากำหนด * 
3.2      ส่งเสริมสนับสนุน และเร่งรัดติดตามการสอบสวนผู้ป่วยเฉพาะรายให้ครบถ้วนตามรายชื่อโรค และเกณฑ์ที่สำนักระบาดวิทยากำหนด
3.3              การเขียนรายงานสอบสวนโรคที่มีคุณภาพ และการให้ข้อเสนอแนะรายงานของพื้นที่  


4.      การดำเนินงานในระบบเฝ้าระวังที่มีแนวทางหรือวิธีปฏิบัติงานเฉพาะ  ได้แก่    
4.1      การเฝ้าระวังโรคพิเศษ  เช่น การเฝ้าระวังไข้หวัดนก,    AFP,   AEFI  
4.2      การเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อ  และการบาดเจ็บ 
4.3      การเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อ  HIV  และความชุกของการติดเชื้อ  
4.4      การเฝ้าระวังวัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 
4.5      การเฝ้าระวังโรคในกลุ่มเป้าหมายหรือพื้นที่พิเศษ  เช่น กลุ่มแรงงานต่างด้าว  พื้นที่ชายแดน  พื้นที่ท่องเที่ยว    
4.6      การส่งเสริมสนับสนุน และประสานงานกับโรงพยาบาลในการเฝ้าระวังการบาดเจ็บ และการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อ (DM, HT, COPD, Stroke)  
5.      จัดประชุม/อบรมทางระบาดวิทยา (เลือกดำเนินการตามความเหมาะสมของจังหวัด)
5.1      การอบรมระบาดวิทยาและชีวสถิติเบื้องต้นสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
5.2      การอบรมหรือฝึกปฏิบัติการใช้ Software ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลระบบในระบบเฝ้าระวังต่าง ๆ  เช่น โปรแกรม Epidem,  AIDS,  IS  และอื่น ๆ
5.3      การอบรมหลักสูตรทีม SRRT ระดับอำเภอ  (อบรมทดแทน/เพิ่มเติม)
5.4      การประชุมประจำเดือนของเครือข่ายทีม SRRT ระดับอำเภอ  หรือเครือข่ายงานระบาดวิทยา CUP   (ตามรูปแบบเครือข่ายของจังหวัด)
5.5      การประชุมวิชาการระบาดวิทยา  หรือนำเสนอผลงานสอบสวนโรคของทีม  SRRT   
5.6      การประชุมซักซ้อมรับสถานการณ์หรือเตรียมพร้อมสำหรับการระบาด  เช่น การประชุมเรื่องไข้หวัดนก, ไข้เลือดออก  หรืออหิวาตกโรค  เป็นต้น     
5.7      การประชุมจัดตั้งระบบเฝ้าระวังโรคใหม่เฉพาะจังหวัดที่ขยายเพิ่มเติม เช่น ระบบรายงานโรคจากการประกอบอาชีพฯ  (รง. 506/2)  และระบบเฝ้าระวังโรคเรื้อรัง  เป็นต้น   
5.8      การปฐมนิเทศบุคลากรที่ปฏิบัติงานใหม่    
6.      การพัฒนาบุคลากรระหว่างงาน (On the Job Training) สำหรับพัฒนาทีม SRRT เลือกทำจังหวัดละ 1   รูปแบบ  หรือมากกว่า  ได้แก่
6.1      ระบบพี่เลี้ยง โดยจัดหาผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำปรึกษาระหว่างการสอบสวนโรค
6.2      ปฏิบัติงานนอกพื้นที่ โดยจัดระบบให้ทีม SRRT อำเภอไปร่วมสอบสวนโรคต่างอำเภอได้
6.3      War  room  SRRT  โดยจัดให้มีการประชุมทีม SRRT อย่างต่อเนื่อง  สม่ำเสมอ 
7.      การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ทางระบาดวิทยาเป็นเอกสาร  หรือทางเว็บไซต์
8.      การศึกษาวิจัยทางระบาดวิทยา 
8.1      การศึกษาระบาดวิทยาของโรคที่เป็นปัญหาในพื้นที่
8.2      การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคที่เป็นปัญหาเฉพาะพื้นที่
8.3      การศึกษาเพื่อพัฒนา หรือปรับปรุงแนวทางและเครื่องมือปฏิบัติงานให้เหมาะสม เพิ่มความสะดวกและคุณภาพผลงาน เช่น การพัฒนาโปรแกรมใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น