healthy@nasameng

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554

รายงานการพัฒนาคุณภาพบริการ

 การส่งเสริมสุขภาพกลุ่มสตรีเพื่อเฝ้าระวังโรคมะเร็งปากมดลูก ”

บริบท
โรคมะเร็งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตของประชาชนและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยา- บาลเป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในประเทศไทย และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นจากสถิติการคาดประมาณจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งในปี พ..2542 พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยใหม่ 87,060 รายโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย คือ โรคมะเร็งตับ รองลงมาคือโรค มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก   มะเร็งเต้านม ตามลำดับ
                โรคมะเร็งปากมดลูก ซึ่งเป็นโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งในผู้หญิงไทย ในการดำเนินงานเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก ควรจะดำเนินการในด้านการตรวจหาโรคมะเร็งให้ได้ตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรก ซึ่งสามารถทำการรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษามะเร็งในระยะลุกลาม ทำให้ลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งและอัตราตายจาก โรคมะเร็งได้อย่างเป็นรูปธรรมควรจะต้องมีแผนดำเนินงานที่ชัดเจน มีความเป็นไปได้ที่จะนำไปปฏิบัติและสามารถทำการวัดผลได้
                ในประเทศไทยพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ 6,200 คน/ปี ในปีพ.. 2539 อุบัติการณ์ของโรคมะเร็งปากมดลูกในกรุงเทพ เป็น 20.7 ต่อสตรีแสนคน  พบผู้ป่วยใหม่ในระยะลุกลามจำนวน 1,880 ราย
                สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำแผนดำเนินการเพื่อให้สะดวกและง่ายในการปฏิบัติงานและให้เหมาะสม กับทรัพยากรที่มีอยู่ และเป็นไปได้ในการปฏิบัติเพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 – 60 ปี ทุกคนได้รับการตรวจ Pap Smear 1 ครั้ง ทุก 5 ปี โดยให้สตรีปกติอายุ 35 , 40 , 45 , 50 , 55 และ 60 ปีทุกคนและสตรีที่มีอาการแสดงที่สงสัยว่าเป็นโรคมะเร็ง  ปากมดลูกทุกคนได้รับการตรวจ Pap Smear และในรายที่มีผลผิดปกติจะได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกโดยมีระบบส่งต่ออย่างครบวงจร
                การที่ทำ Pap Smear 1 ครั้งทุก 5 ปี เนื่องจากขบวนการเกิดโรคมะเร็งหลังจากที่มีการ  ติดเชื้อ Human Papilloma Viruses ชนิด High – risk types จะใช้เวลานานกว่า 10 ปี ในการทำให้เกิดเป็น Invasive Cancer
                จากผลการศึกษาของ International Agency for Research on Cancer (IARC/WHO) พบว่าถ้าทำ Pap Smear 1 ครั้งทุกปี, 1 ครั้งทุก 2 ปี หรือ 1 ครั้งทุก 3 ปี จะมีอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกลดลงร้อยละ 91 – 93 ทำ Pap smear 1 ครั้งทุก 5 ปีจะลดลงร้อยละ 84 (โดยทำ screen ในผู้หญิงอายุ 35 – 64 ปี)
                จากผลการศึกษาในหลายประเทศแสดงให้เห็นว่าการตรวจคัดกรองด้วยการทำ PapSmear ให้ครอบคลุมกลุ่มสตรีเป้าหมายทั้งหมด มีความ สำคัญต่อการลดอัตราการเกิดและอัตราตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกมากกว่าความถี่ที่ได้รับการตรวจแต่ไม่ครอบคลุมประชากรทั้งหมด
หน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ : ศูนย์สุขภาพชุมชนดอนตาลและสถานีอนามัยเครือข่ายได้จัดโครงการรณรงค์การตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear ในสตรีกลุ่มเสี่ยงอย่างเนื่อง จากการดำเนินงานได้มีการเก็บข้อมูลความสำเร็จของการดำเนินงาน  ปี 2549 – 2551   พบว่า สตรีกลุ่มเสี่ยงมารับการตรวจ  Pap  smear  ร้อยละ  78.82, 83.09 และ 85.42 ตามลำดับ จากข้อมูลและการดำเนินงานดังกล่าวพบว่าปัญหาอุปสรรคมากกมาย  โดยส่วนใหญ่พบว่า เกิดจากประชากรกลุ่มเสี่ยงขาดความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและขาดความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองซึ่งเกิดจากความเขินอายอาชีพที่ไม่เอื้ออำนวยความ ไม่สะดวกในการเดินทางมารับบริการและขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญในการตรวจมะเร็งปากมดลูก  
ดังนั้นงานส่งเสริมสุขภาพจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพนี้ขึ้นเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อประชากรกลุ่มเสี่ยงมากที่สุดและเพื่อให้เกิดมาตรฐานเกิดประสิทธิภาพในการทำงานอย่างต่อเนื่อง

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้สตรีกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี  Pap  smear 
2. เพื่อให้สตรีกลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก
3. เพื่อให้สตรีกลุ่มเสี่ยงผลการตรวจผิดปกติได้รับการดูแลและรักษาอย่างถูกต้อง
4. เพื่อให้สตรีกลุ่มเสี่ยงมีความรู้และเกิดความตระหนักในการตรวจมะเร็งปากมดลูก
5. เพื่อให้เกิดการบริการที่ได้มาตรฐานและมิประสิทธิภาพ
6. เพื่อให้เกิดนวัตกรรมที่ทันสมัยและได้มาตรฐาน            

รายละเอียดตัวชี้วัด ( KPI  Template ) การประเมินผลงาน   ปีงบประมาณ  2552
ประเด็น : การคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม   ( น้ำหนักร้อยละ  1.5 )
มิติที่ 1 ด้านประสิทธิผลการปฏิบัติราชการ
                                     ตัวชี้วัดที่ 1 : สตรีอายุ 35,40,45,50,55 และ 60 ปี ได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกโดยวิธี   Pap  smear 
                                      หน่วยวัด : ร้อยละของจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการตรวจคัดกรอง
                                       เป้าหมาย :  ร้อยละ 55 ( 60 )
                                   คำอธิบาย : การตรวจปากมดลูกโดยวิธี Pap smear  หมายถึง การตรวจโดยการเก็บหรือป้ายเอาเซลล์จากปากมดลูกไปป้ายลงบนแผ่นสไลด์  ทำการย้อมสีและอ่านผล  โดยบุคลากรเซลล์วิทยา

            สูตรการคำนวณ :  จำนวนสตรีอายุ 35,40,45,50,55 และ 60 ปีที่ได้รับการ pap  smear  (คน)  x 100
                                                       จำนวนสตรีอายุ 35,40,45,50,55 และ 60 ปี ในเขตรับผิดชอบ

            แหล่งข้อมูล  : 1.  รายงานประจำเดือน  แยกรายสถานบริการ
                                      2.  ทะเบียนสตรีอายุ 35,40,45,50,55 และ 60 ปี ในการตรวจ Pap smear
            วิธีการจัดเก็บข้อมูล  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร :
                                             1.ผู้รับผิดชอบงานระดับอำเภอรวบรวมข้อมูลผลการตรวจคัดกรองแยกรายสถานบริการ  ส่งข้อมูลตามแบบฟอร์มรายงานมะเร็งปากมดลูก  โดยส่งข้อมูลไม่เกินวันที่  5  ของทุกเดือน
                                2.   รวบรวมรายงานจากพื้นที่ Key เข้าระบบรายงาน  E-inspection  ภาพรวมจังหวัด            
          
              ตัวชี้วัดที่ 2 :  สตรีอายุ 35,40,45,50,55 และ 60 ปี ที่มีผลผิดปกติ ( Epithelial cell Abnormality ) ได้รับการส่งต่อ
              หน่วยวัด : ร้อยละของจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบเซลล์ผิดปกติและได้รับการส่งต่อ
              เป้าหมาย :  ร้อยละ 100
              น้ำหนัก   :  ร้อยละ  0.5

              สูตรการคำนวณ :                    จำนวนสตรีกลุ่มเป้าหมายที่มีผลผิดปกติได้รับการส่งต่อ   X  100
                                          จำนวนสตรีกลุ่มเป้าหมายผลผิดปกติ หมวด 200 และ 300 ตามแบบรายงาน The Bethesda
              แหล่งข้อมูล   : 1.  รายงานประจำเดือน  แยกรายสถานบริการ
                         2.  ทะเบียนผู้ที่ตรวจพบเซลล์ผิดปกติได้รับการส่งต่อ






เกณฑ์การให้คะแนน
ตัวชี้วัด
หน่วยนับ
เกณฑ์การให้คะแนน
1
2
3
4
5
1. สตรีอายุ 35,40,45,50,55 และ 60 ปี ได้รับการคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกโดยวิธี
Pap  smear 
ร้อยละ

ผลงาน
  ร้อยละ29

ผลงาน
ร้อยละ
30-49

ผลงานร้อยละ
50-69
ผลงานร้อยละ 70-79

ผลงาน
ร้อยละ 80

2. สตรีอายุ 35,40,45,50,55 และ60ปีที่มีผลผิดปกติ(Epithelial cell Abnormality ) ได้รับการส่งต่อ

ร้อยละ

ผลงาน
  ร้อยละ 59

ผลงาน
ร้อยละ
60-69

ผลงานร้อยละ
70-79

ผลงานร้อยละ
80-99

ผลงานร้อยละ 100



ข้อมูลก่อนการแก้ปัญหา
             ผลการดำเนินการรณรงค์ตรวจมะเร็งปากมดลูกในปีงบประมาณ 2549 - 2551 
ตารางที่  1  แสดงผลการดำเนินงานตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear  ปีงบประมาณ   2549  - 2551  ของศสช.ดอนตาล 
ลำดับ
ปีงบประมาณ
จำนวนประชากรกลุ่มเป้าหมาย
ผลการดำเนินงาน
จำนวน
ร้อยละ
1
2549
614
484
78.82
2
2550
627
521
83.09
3
2551
631
539
85.42


ที่มา :  สรุปผลงานตามตัวชี้วัดงานสาธารณสุข ปี 2549 – 2551
กระบวนการ/รูปแบบการแก้ไขปัญหา
รูปแบบกิจกรรม
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้รับผิดชอบ
1. วางแผนเพื่อระดมความคิดในการดำเนินงานให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย
2.ตรวจสอบ สำรวจกลุ่มเป้าหมายจากทะเบียนราษฎร์  , Pap  Registry ,  Hcis
(ประชากรที่มีอยู่จริงในพื้นที่ตามกลุ่มอายุ)
3. ทำทะเบียนบัญชีรายชื่อกลุ่มเป้าหมาย 6 กลุ่มตามพื้นที่ ชุมชน หมู่บ้าน
4. วางแผน กำหนดพื้นที่บริการ กำหนดวัน กำหนดผู้ให้บริการ จัดเตรียมอุปกรณ์
5.ประชาสัมพันธ์ให้ถึงกลุ่มเป้าหมาย ด้วยวิธีจดหมายถึงเธอ(จดหมายน้อย) หอกระจายข่าว วิทยุชุมชน อสม. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่ติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายทุกคน  หนังสือเชิญตรวจสุขภาพ  เจ้าหน้าที่ Nock door  บ้านกลุ่มเป้าหมาย
6. ให้บริการตรวจ
 6.1 เชิงรับ
   - ให้บริการตรวจที่สถานบริการ
   - ให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก/เต้านม
   - จ่ายเวชภัณฑ์ผู้ที่มีอาการผิดปกติ / ส่งต่อ 
6.2 เชิงรุก
  - เจ้าหน้าที่จัดบริการตรวจเคลื่อนที่ในหมู่บ้าน ชุมชน กำหนดจุดบริการที่บ้านแกนนำชุมชน
  - ให้ความรู้มะเร็งปากมดลูก
จนท.เครือข่ายบริการ




เครือข่ายบริการ

จนท.เครือข่ายบริการ

จนท.เครือข่ายบริการ





เป้าหมาย  6 กลุ่มอายุและประชาชนกลุ่มสตรีที่รักสุขภาพ
จนท.เครือข่ายบริการ

เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโดยตรงด้านการให้บริการเชิงรับ เชิงรุก
- จรรยา
- สมร
- ธรรมนอง
- วัฒนพร
- วาสนา
- สุภาณี
- เกยูร
เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลโปรแกรม
 Pap Registry /รับ-ส่ง Slide
- กฤษณชัย
-  พงษ์ยุทธ
- ประหยัด
- วิริยารัตน์
- เทอด
- จรรยา
ผู้ประสานงานระหว่างเครือข่าย PCU และ CUP
- มนตรี  สกุลเดช
กระบวนการ/รูปแบบการแก้ไขปัญหา(ต่อ)
รูปแบบกิจกรรม
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้รับผิดชอบ
  6.2 เชิงรุก(ต่อ)
  - จัดรถรับ – ส่ง
  - กระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายรับบริการตรวจ ฯโดย อสม. สามี  ญาติ
  - อบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มแกนนำเรื่องมะเร็งปากมดลูก
  - ติดตามกลุ่มเป้าหมายเข้ารับบริการด้วยโทรศัพท์
  - เจ้าหน้าที่ตรวจ ฯ ถึงบ้าน
  - มอบของขวัญรางวัลผู้มารับบริการ
  - มอบของขวัญรางวัลแก่อสม.
หมายเหตุ ผู้รับบริการสามารถเลือกผู้บริการตรวจมะเร็งปากมดลูกได้
7. บันทึกข้อมูลการตรวจใน Pap registry และส่งข้อมูลออกให้หน่วยอ่าน โรงพยาบาลมุกดาหาร
ในรูปแบบ electronic file
8. รับผลการตรวจทาง email ,ใบแจ้งผลการตรวจจากโรงพยาบาลมุกดาหาร
9. แจ้งผลการตรวจแก่ผู้รับบริการ
 9.1 ปกติ 
   -  จดหมายแจ้งผลการตรวจ
   -  แจ้งผลการตรวจผ่าน อสม.
   -  เจ้าหน้าที่แจ้งทางโทรศัพท์ , ตัวต่อตัว ปากต่อปาก
  9.2 ผิดปกติ
   -   แจ้งผลการตรวจโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโดยเยี่ยมบ้าน นัดมาสถานบริการ โทรศัพท์

เป้าหมาย  6 กลุ่มอายุและประชาชนกลุ่มสตรีที่รักสุขภาพ
จนท.เครือข่ายบริการ


เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโดยตรงด้านการให้บริการเชิงรับ เชิงรุก
- จรรยา
- สมร
- ธรรมนอง
- วัฒนพร
- วาสนา
- สุภาณี
- เกยูร

กระบวนการ/รูปแบบการแก้ไขปัญหา(ต่อ)
รูปแบบกิจกรรม
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้รับผิดชอบ
   -  ดูแลสุขภาพใจคนในครอบครัว10. ให้การรักษา /ส่งต่อ
10. ตรวจซ้ำ  4 – 6 เดือน
11. เยี่ยมบ้าน ส่งเสริมสนับสนุนกำลังใจในรายผลตรวจผิดปกติ
12. ประเมินผลการดำเนิน 3 เดือน 6 เดือน
  12.1 ระดมสมองเพื่อค้นหาวิธีการดำเนินงานในเครือข่ายหน่วยบริการที่ผลงานต่ำกว่าเป้าหมาย
  12.2 ปรับเปลี่ยนรูปแบบ ร่วมค้นหากลวิธีในการให้บริการเชิงรุกให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ รวมทั้งกำหนด เวลา สถานที่
   - เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ
   - เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
   - พูดคุยในรายที่มีปัญหาทุกคน เพื่อทราบความต้องการที่แท้จริง รวมทั้งนำส่งสถานบริการที่ต้องการจะไปตรวจ (รัฐ เอกชน )
เป้าหมาย  6 กลุ่มอายุและประชาชนกลุ่มสตรีที่รักสุขภาพ
จนท.เครือข่ายบริการ

เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโดยตรงด้านการให้บริการเชิงรับ เชิงรุก
- จรรยา
- สมร
- ธรรมนอง
- วัฒนพร
- วาสนา
- สุภาณี
- เกยูร

การมีส่วนร่วมของชุมชน  องค์กรภาคี
                1. เจ้าหน้าที่           - ทำงานเป็นทีม กำหนดผู้รับผิดชอบชัดเจน
                                                - ร่วมรณรงค์ให้บริการตรวจร่วมกัน
                                                - เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ ระหว่างเครือข่ายหน่วยบริการ
                                                - สร้างความสมัครสมานสามัคคี เจ้าหน้าที่ในเครือข่าย
                                                - สนับสนุน วัสดุอุปกรณ์การดำเนินงานและอำนวยงาน ติดตามประเมินผลโดย CUP  มีผู้ประสานการดำเนินงานระหว่าง PCU และ CUP
                2. อสม. แกนนำชุมชน                         - ร่วมตรวจสอบกลุ่มเป้าหมาย
                                                                                - ประสานงานกับกลุ่มเป้าหมายในชุมชน
                                                                                - ติดตามกลุ่มเป้าหมายให้เข้ารับบริการ
                                                                                - ประชาสัมพันธ์ให้เข้ารับการตรวจ ทั้งเชิงรับ และเชิงรุก
                                                                                - ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของการตรวจมะเร็งปากมดลูก
ผลการดำเนินงาน
                 ผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี   Pap smear ปีงบ 2552
ลำดับ
หน่วยบริการ
เป้าในทะเบียนบ้าน
เป้าอยู่จริง
ผลงาน
ร้อยละตามเป้าฯ
ร้อยละอยู่จริง
1
สอ.บ.ภูล้อม
18
18
16
88.89
88.89
2
สอ.บ.บ้านบาก
95
92
82
86.32
89.13
3
สอ.บ.นายาง
83
76
64
77.11
84.21
4
สอ.บ.นาสะเม็ง
150
142
116
77.33
81.69
5
สอ.บ.หนองกระยัง
81
75
64
79.01
85.33
5
ดอนตาล
237
227
205
86.49
90.3
รวม
664
630
547
82.37
86.83

แผ่นภูมิแท่ง  2  แสดงผลการดำเนินงานตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear  ปีงบประมาณ  2549  - 2552 ของศสช.ดอนตาล
ตรวจมะเร็งปากมดลูก        จำนวน        547      คน       ผลตรวจ 100  Negative for Intraepithelial     จำนวน               543     คน
                                                                                        Cirvix  inflam                                                           จำนวน                     13     คน
                                                                                            Cirvixcitis                                             จำนวน                       6     คน
                                                                                            Myoma                                                                  จำนวน                       2     คน
                                                                                            รอผล   Cyto                                                         จำนวน                   -     คน
               ผู้ที่มารับบริการตรวจพบสิ่งผิดปกติ จำนวน  4  ราย คิดเป็นร้อยละ 0.73  และได้ส่งต่อรับการรักษาและตรวจซ้ำที่โรงพยาบาลมุกดาหาร ครบทุกราย คิดเป็นร้อยละ 100  ผลตรวจพยาธิสภาพ ผลปกติทั้ง  2  ราย รอผลการตรวจซ้ำครั้งที่ 2 จำนวน 2 ราย

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
1. ประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น  เน้นการสร้างกระแสในชุมชน  โดยเฉพาะในช่วงที่มีการรณรงค์  หรือการใช้อาสาสมัครที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกช่วยรณรงค์ให้กลุ่มเป้าหมายเห็นความสำคัญ
                2. มีการพัฒนาศักยภาพของ อสม.  สร้างแรงจูงใจให้ อสม. ในการชักชวนกลุ่มเป้าหมายมาตรวจ  Pap smear  
                3. ในการแจ้งกลุ่มเป้าหมายให้มาตรวจ  แจ้งกับกลุ่มเป้าหมายโดยตรงโดยใช้จดหมายตาม  และในการรณรงค์ตรวจ  Pap smear  ปรับให้เข้ากับปฏิทินชุมชน  คือควรรณรงค์ตรวจ Pap smear  ในช่วงที่กลุ่มเป้าหมายว่างจากการทำนา  ทำไร่
                4. ใช้ 4 M ที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ อสม., แกนนำชุมชน/ครอบครัว , ผู้ดูแลคนไข้ที่บ้าน, ศูนย์สุขภาพชุมชน ฯล
                5. กระทรวงสาธารณสุข  มีนโยบายในการรณรงค์ป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ในการปฏิบัติงาน ดังนั้นทางสถานีอนามัยได้มีโครงการรองรับในการตรวจมะเร็งปากมดลูก อีกทั้งทางโรงพยาบาลดอนตาล (กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน) ได้ออกตรวจที่สถานีอนามัย ทำให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความสะดวกสบายในการรับบริการ ไม่ว่าจะเป็นระยะทางในการเดินทางที่ใกล้ความรวดเร็วในการตรวจ และประชาชนยังได้รับข้อมูลข่าวสารเรื่องมะเร็งปากมดลูก

ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ
 - ประชาชนได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก
                                                - ประชาชนได้รับความรู้ ความเข้าใจและตระหนึกถึงประโยชน์ของการตรวจมะเร็งปากมดลูก
                                                - ประชาชนได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
                                                - ประชาชนมีสุขภาพดี
ปัญหา อุปสรรค                  
- มีความอาย
                                - ความเชื่อ ค่านิยม ส่วนบุคคล
                                - โสด และทอม
                                - ขาดความตระหนักในการป้องกันโรคและการดูแลสุขภาพตนเอง

แนวทางการแก้ไข  PCU
- เสริมสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนให้ครอบคลุมและทั่วถึง
- ให้บริการตามความต้องการของผู้รับบริการ
- จัดทำวารสาร แผ่นพับเพื่อให้ทราบถึงประโยชน์ของการตรวจสุขภาพ
CUP
- สนับสนุนงบประมาณ เวชภัณฑ์ ยานพาหนะ
- เสริมสร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน

ข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษา
             ควรศึกษาเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่ที่มีผู้มารับบริการตรวจเซลล์มะเร็งปากมดลูกมากและพื้นที่ที่มีผู้มารับบริการตรวจเซลล์มะเร็งปากมดลูกน้อยเพื่อหาแนวทางปรับปรุงการดำเนินงาน

ข้อเสนอแนะ  ข้อแนะนำ
             1. นโยบาย (Organization Polices) การทำงานด้านสาธารณสุขครอบคลุมการดูแลสุขภาพตั้งแต่การเกิดจนถึงตาย การดำเนินงานที่อาศัยความร่วมมือของชุมชนในการดูแลสุขภาพให้ประสบความสำเร็จ ต้องเข้าใจชุมชน งานที่ทำแล้วเข้ากับบริบทชุมชน เช่นประชาชนชาวดอนตาล ประชาชนส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรม จะให้ชุมชนตั้งกลุ่มทำกิจกรรมออกกำลังกายร่วมกัน เป็นสิ่งที่ได้ยากและเมื่อส่งเสริมให้ประชาชนเรียนรู้ สร้างเครือข่ายแล้วการดำเนินงานจะไม่ยั่งยืนเพราะไม่เข้ากับบริบทชุมชน
              2. Base wage or salary ความดีความชอบ ขวัญกำลังใจ การสร้างขวัญกำลังใจการปฏิบัติงานในพื้นที่ทุรกันดารของเจ้าหน้าที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากการทำงานมีความยากลำบาก
              3. รู้สึกอยากได้รับการยอมรับนับถือ (Feeling of reception) การปฏิบัติงานเชิงรุก ต้องการทำงานบรรลุเป้าหมายครอบคลุม เช่นการคัดกรองเซลมะเร็งปากมดลูก การคัดกรองตรวจสุขภาพประชาชนอายุ 40 ปี ขึ้นไป บุคลากรที่ทำงานต้องการยอมรับและขวัญกำลังใจ ถึงแม้เป็นการปฏิบัติงานประจำ แต่กลยุทธ์การดำเนินงานต้องใช้ความสามารถ ฝันฝ่าความยากลำบาก
             4. งบประมาณ ค่าใช้จ่าย Base on budget ให้ความสำคัญและสนับสนุนต่อเนื่อง การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีความสำคัญลดน้อยลง เนื่องจากการบริหารงบประมาณลงใน CUP  หน่วยบริการจะให้ความสำคัญในการอยู่รอดขององค์กร จะไม่ดำเนินงานในส่วนนี้ และหากหน่วยงานที่เป็นเจ้าของงบประมาณไม่ดำเนินโครงการเอง เช่นโครงการรณรงค์ตรวจเซลมะเร็งปากมดลูกทั้งประเทศ ก็จะทำให้การตรวจ Pap Smear หมดความสำคัญลดลง การที่จะให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการดูแลสุขภาพ เป็นไปได้ยากมากในดินแดนที่ทุรกันดาร ด้านสาธารณูปโภคยังไม่เพียงพอ การจัดสรรงบประมาณส่วนใหญ่ยังคงเน้นด้านสาธารณูปโภคมากกว่า
             5. Safety needs ความต้องการความปลอดภัยทางกาย สภาวะการทำงานที่ปลอดภัย การทำงานเชิงรุก เคลื่อนที่ไปในชุมชน และหน่วยบริการที่ห่างไกล สภาพการใช้รถยนต์เคลื่อนที่ต้องมีสภาพพร้อมที่ใช้งานได้ (รถยนต์เจ้าหน้าที่สอ.) มีการตรวจเช็คสภาพเป็นประจำ สถานที่ให้บริการของหน่วยบริการต้องมีความปลอดภัย

มะเร็งปากมดลูกจึงไม่น่ากลัวอย่างที่หลายคนคิด เพราะผู้หญิงมีเวลานานพอที่จะป้องกันด้วยการนำเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูกไป
ตรวจหรือที่เรียกว่าตรวจแป๊ปสเมียร์หรือถ้าเป็นมะเร็งระยะเริ่มแรกก็สามารถรักษาให้หายขาดได้
"เพื่อให้จำง่ายในการปฏิบัติทุกคนควรจะตรวจเมื่อ อายุ 35, 40, 45, 50, 55 และ 60 ปี"
ตรวจ PAP   ไม่น่าอาย ตรวจได้ รักษาได้หายขาด










                                                                                                                                              

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น